กิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียน

หน้าแรก webpagesurin


การศึกษานอกโรงเรียน สายสามัญ
                 เป็นการจัดการศึกษาให้กับผู้พลาดโอกาสที่จะศึกษาต่อในระบบโรงเรียน ได้มีโอกาสที่จะศึกษาต่อในระบบโรงเรียน ได้มีโอกาสศึกษาต่อตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบโรงเรียน เมื่อศึกษาครบตามหลักสูตรแล้วผู้เรียนจะได้รับวุฒิการศึกษาในแต่ระดับเทียบเท่าการศึกษาในระบบในโรงเรียน

ผช.ผอ.ประธานจนท.แนะนำกระบวนการอบรมบุคลากร ครู ผู้เข้ารับการอบรม
พัฒนาบุคลากร ครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการจัดการเรียนการสอน

 

หลักสูตร
                 แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย โดยกำหนดวิธีการเรียนเป็น 3 วิธี คือ แบบชั้นเรียน แบบทางไกล และแบบเรียนด้วยตนเอง

วิธีเรียน
                 1. แบบชั้นเรียน (ชร.) ผู้เรียนจะต้องเข้าเรียนในชั้นเรียนช่วงเย็นค่ำ
                 2. แบบทางไกล (ทก.) ผู้เรียนสามารถศึกษาด้วยตนเองจากเอกสารรายวิชา รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ และพบกลุ่ม สัปดาห์ 1 ครั้ง
                3. แบบตนเอง (ตอ.) ผู้เรียนต้องศึกษาด้วยตนเองและเข้าร่วมกิจกรรมพบกลุ่ม ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 75 ของหลักสูตร

หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญ
                 1. ระดับประถมศึกษา เป็นการจัดการศึกษาในระดับต้น มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามรถขั้นพื้นฐาน คิดเป็นทำเป็น มีทักษะในการพูด ฟัง อ่าน เขียน ภาษาไทยได้
                 2. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นการจัดการศึกษาในขั้นต่อเนื่องจากหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนระดับประถมศึกษา โดยมุ่งส่งเสริมให้ผู้ที่พลาดโอกาสที่จะศึกษาต่อ ในระบบโรงเรียน ได้มีทางเลือกในการรับบริการทางการศึกษาตามความพร้อมและความเหมาะสมในเรื่องเวลา สถานที่ และโอกาสที่เอื้ออำนวย
               3. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นการจัดการศึกษาต่อเนื่องจากหลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จัดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาความรู้เพิ่มเติม สำหรับ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายนี้ กศน. ได้ปรับหลักสูตรให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ตามความต้องการจาก 3 แผน การเรียนดังนี้
                            แผน ก. คือแผนการเรียนเพื่อการศึกษาต่อ
                            แผน ข. คือแผนการเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต
                            แผน ค. คือแผนการเรียนเพื่อประกอบอาชีพเพื่อตอบสนองให้ตรงกับจุดประสงค์ในการศึกษา ต่อของผู้เรียนมากยิ่งขึ้น


การพัฒนาทักษะทางด้านอาชีพ
เป็นการให้การศึกษาอาชีพแก่ประชาชน มุ่งเน้นการฝึกทักษะเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ประกอบอาชีพจริงตามความต้องการของบุคคลและชุมชน มีรูปแบบอาชีพตามความต้องการของบุคคลและชุมชน มีรูปแบบการจัด 4 ลักษณะ คือ
                1. หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น
                2. หลักสูตรกลุ่มสนใจ
                3. หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปอ.)
                4. หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช. ทางไกล)

หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น
                เป็นหลักสูตรที่มีชั่วโมงการฝึกอบรมตั้งแต่ 100 - 300 ชั่วโมง เน้นการฝึกปฏิบัติจริงในวิชาชีพต่าง ๆ เช่น ตัดเย็บเสื้อผ้า พิมพ์ดีด เกษตรกรรม หัตถกรรม ฯลฯ

หลักสูตรกลุ่มสนใจ
                เป็นกลักสูตรที่มีชั่วโมงการฝึกอบรมครั้งละไม่เกิน 30 ชั่วโมง จัดสอนตามความต้องการและความสนใจของผู้เรียน เช่นการเกษตร ศิลปกรรม สันทนาการ ความรู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต ฯลฯ

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2533 (ปอ.)
                เป็นหลักสูตรสำหรับผู้จบการศึกษาในระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ต้องการความรู้ความสามารถเข้าใจเกี่ยวกับโลกของการงานอาชีพ สามารถตัดสินใจประกอบอาชีพได้เหมาะสมกับความต้องการของชุมชน ผู้เรียนที่จบหลักสูตรนี้ได้รับประกาศนียบัตรเทียบเท่าระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในระบบโรงเรียน

หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
                เป็นหลักสูตรสำหรับผู้จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และกำลังทำงานในสถานประกอบการ หรือประกอบอาชีพมาอย่างน้อย 3 ปี เพื่อยกระดับของผู้เรียนที่ทำงาน ผู้เรียนที่จบหลักสูตรนี้ จะได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เทียบเท่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในระบบโรงเรียน

 

                                                         การศึกษาตามอัธยาศัย
        เป็นการให้การศึกษาผ่านสื่อต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างแท้จริงในทุกเวลาที่ต้องการ โดยมีกิจกรรมหลักดังนี้

1. ห้องสมุดประชาชน
          เป็นสถานที่ให้บริการข้อมูลข่าวสารประกอบด้วยสื่อประเภทต่าง ๆ ในบางแห่งอาจจัดการเรียนการสอนด้วยสื่อต่าง ๆ ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศนศึกษา สื่ออิเล็คทรอนิกส์ สื่อทดลอง สื่อสาธิตให้กับประชาชนทั่วไป ปัจจุบันมีห้องสมุดประชาชน จำนวน 843 แห่ง และมีการพัฒนาให้เป็นห้องสมุดอิเล็คทรอนิกส์ไม่ต่ำกว่า 50 แห่ง ซึ่งจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

2. ห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี"
          เป็นห้องสมุดที่จัดขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2534 จัดสร้างเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 36 พรรษา ปัจจุบันมีห้องสมุดเฉลิมราชกุมารีทั่วประเทศ รวม 76 แห่ง

3. หอสมุดรัชมังคลาภิเษก
          พระราชวังไกลกังวลหัวหิน จังหวัดประจวบคิรีขันธ์ จัดตังขึ้นเพื่อถวายเป็นราชสักการะเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในรัชสมัยวันรัชมังคลาภิเษก และเป็นไปตามพระราชปรารภของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการที่จะมีห้องสมุดที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา บุคคลทั่วไป และชาวต่างประเทศที่มาท่องเที่ยวหัวหินได้ศึกษาเรื่องราวต่าง ๆ

หน้าแรก webpagenonsurin