หน้าแรก webpagesurin 

การบริหารศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน
การบริหารศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน
INTEGRATED  PEST  MANAGEMENT = IPM

    ทำไมต้องทำ IPM ในแต่ละปีเกษตรกรประมาณ 5- 25  ล้านคน ได้รับ ผลกระทบจากพิษของสารเคมี ซึ่งมีผลต่อความเสี่ยง ในการ เกิดโรคต่างๆเช่น มะเร็งการเสียชีวิต ของเด็กหลังคลอด หรือความผิดปกติของระบบประสาท นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อมข้างเคียง เช่น สัตว์เลี้ยงต่าง ๆ แหล่งน้ำ ดินและยังเกิดปัญหาทางด้าน เศรษฐกิจอันเนื่องจากค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อ สารเคมี ที่ในแต่ละปีประเทศไทย นำเข้าสารเคมีมากกว่า 30,000 ตัน มีมูลค่า ประมาณ 8,000 ล้านบาท และยังพบว่าเกษตรกรจำนวนมากจำเป็นต้องใช้สารเคมี ในปริมาณ ที่ เพิ่มมากขึ้น เกิดภาวะการต้านทานต่อสารเคมีของโรคและแมลง    
     ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องให้รู้แก่เกษตรกรในเรื่องการบริหารจัดการศัตรูพืช
โดยหลักนิเวศวิทยา

หลักการ 4 ข้อในการปฏิบัติ
     1. ปลูกพืชให้แข็งแรง
     2. อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ
     3. ลงนาสม่ำเสมอ
     4. เกษตรกร คือ ผู้เชี่ยวชาญ

แนวคิดพื้นฐานของ  IPM 
     *IPM  ไม่ใช่เทคโนโลยสำเร็จรูปที่จะนำไปใช้กับใครที่ไหนก็ได้
     *IPM  ไม่ใช่การสอนให้รู้แต่เป็นการศึกษาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้
     *IPM  ไม่ได้เป็นความเชื่อ แต่เกิดจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
     *IPM  เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
     *นาเป็นครูและเป็นห้องเรียนที่สำคัญที่สุด
     *IPM  ให้ความสำคัญสูงสุดกับเกษตรกร
     * วิทยากรไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญ
     * เป้าหมายสูงสุด คือ เกษตรกร ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญ ในแปลงนาของตนเอง

กศน.  กับ  IPM
     ปี 2541   
     กรมการศึกษานอกโรงเรียนร่วมมือกับองค์กรอาหารและเกษตรแห่ง
สหประชาชาติ (FAO) โดยมูลนิธิการศึกษาไทย ได้เล็งเห็นว่า "กศน." มีศักยภาพ ในการเผยแพร่ความรู้ ด้วยกิจกรรมของ  กศน. ที่มีอยู่อย่างหลากหลาย โดย กศน. ได้นำกระบวนการคิดเป็นทำเป็นแก้ปัญหาได้มาบูรณาการกับกลุ่มทักษะกระบวนการ
ต่าง ๆ เข้ามาร่วมกันอย่างผสมกลมกลืน โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งทักษะ จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถค้นหาคำตอบได้ด้วยตนเองสามรถรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สรุป และตัดสินใจอย่างมีเหตุผล ทำให้เกิดการยอมรับนำความรู้ที่ตนเอง ค้นพบไปใช้ แก้ปัญหาและพัฒนาสู่ความยั่งยืนต่อไป

 

หน้าแรก webpagesurin