ข้าวหอมมะลิ                 

ข้าวชั้นดีจากทุ่งกุลา  อำเภอท่าตูม  จังหวัดสุรินทร์
กลุ่มเยาวชนบ้านสะเอิง


ความเป็นมาของกลุ่ม       
          กลุ่มเยาวชนบ้านสะเอิง  มีแนวคิดร่วมกันที่จะประชาสัมพันธ์และสนับสนุนผลิตผลที่มีความดีเด่น  และเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ผลผลิตจากข้าวของอำเภอท่าตูม ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย โดยจัดตั้งเป็น กลุ่มขึ้น มีสมาชิกจำนวน 40 คนบรรจุถุง  ขนาด  1 กิโลกรัม    2  กิโลกรัม  และ 5 กิโลกรัม ออกจำหน่ายทั่วไปในท้องตลาด        
           ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลา ทนความเค็มได้ดีกว่าพันธุ์ข้าวชนิดอื่น และ เมื่อหุงจะมีกลิ่นหอมและขึ้นหม้อ
เมล็ดยาว  ขาว  และนุ่ม  น่ารับประทาน การแปรรูผลิตภัณฑ์จากข้าว อาจแบ่ง ผลิตภัณฑ์ข้าวไทยได้  3  ชนิดด้วยกันคือ 1 ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวที่ใช้อุปโภค  เช่น แป้งที่ใบ้เป็นส่วนผสมของยา  แป้งทาตัวเด็ก แป้งที่ใช้เคลือบถุงมือ เป็นต้น 2  ภัณฑ์แปรรูปจากข้าวที่ใช้บริโภคได้เลย  เช่น เส้นหมี่ เส้นก๋วยเตี๋ยว ชนมจีน เกี๋ยมอี๋  และขนมปังกรอบ เป็นต้น ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่จกใช้ปลายข้าวเป็นวัตถุดิบ เพราะว่ามีราคาถูกกว่าข้าวตัว (ข้าวเต็มเมล็ดหรือต้นข้าว )    
          แปรรูปโดยกลุ่มเยาวชนบ้านสะเอิง หมู่ที่ 5 ต.โพนครก อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ มีสมาชิก กลุ่ม 40 คน ความเป็นมาของกลุ่ม กลุ่มเยาวชนบ้านสะเอิง มีแนวความคิดต้องการที่จะเพิ่มผลิตผล ปละประชาสัมพันธ์ ข้าวหอมมะลิ กข. 15 และข้าวหอมมะลิ 105  ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายโดยมีการบรรจุถุงจำหน่ายขนาด 1 กิโลกรัม ,  2 กิโลกรัม และ    5  กิโลกรัม ข้อดีของข้าวหอมมะลิ 105 เมื่อหุงจะมีความหอม เมล็ดข้าวยาว ขาว และมีความนุ่ม   รับประทานได้อร่อย  


ข้าว  " เมล็ดพันธุ์แห่งชีวิต "

ข้าว เป็นพืชสายพันธุ์เดียวกับหญ้า  จึงปลูกขึ้นง่าย มีความทนทานต่อทุกสภาพภูมิประเทศในโลก สำหรับคนไทยได้หลักฐานการบริโภคข้าวมาตั้งแต่สมัยบ้านเชียง  วิธีการกะเทาะเอาเปลือกข้าวออก  โดยการซ้อมมือ ซึ่งวิธีการกะเทาะเอาเปลือกข้าวนี้  ได้มีวิวัฒนาการเรื่อยมา เป็นการตำด้วยครกกระเดื่องที่ใช้เท้าเหยียบ  การใช้หม้อดินที่มีฟันบด  เพื่อกะเทาะเอาเปลือกออก  อันเป็นต้นแบบของกลไก  ในเครื่องสีข้าวในโรงสีทุกวันนี้ คุณสมบัติที่ทำให้ข้าวหอมมะลิเป็นข้าวคุณภาพสูง     และเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค คือข้าวเปลือกเรียวยาว ได้ขนาดมาตราฐานข้าวชั้นหนึ่ง   เมื่อสีเป็นข้าวสาร  จะได้เมล็ดข้าวเรียวยาว ขาวใส เป็นเงาแกร่งและมีท้องไข่น้อย ถ้าเป็นข้าวที่เก็บเกี่ยวใหม่ ๆ ข้าวสารก็มีกลิ่นหอม    เมื่อหุงเป็นข้าวสุก   ก็จะได้ข้าวสุกเลื่อมมันอ่อนนุ่ม มีรสชาติดี ข้าวหอมมะลิจัดเป็นข้าวที่มีอมิโลส  คือ  ประมาณร้อยละ   ๑๒ - ๑๘  ทำให้ข้าวสุกมีความอ่อนนุ่มนิ่มนวล   ข้าวหอมมะลิหรือข้าวดอกมะลิ  ปลูกได้ทั่วประเทศไทย  แต่ปัจจุบันข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุดมา จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือในพื้นที่  จังหวัดสุรินทร์  บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ  อุบลราชธานี  ร้อยเอ็ด  และยโสธร  เนื่องมาจากมีสภาพน้ำและอากาศ เหมาะสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิให้ได้คุณภาพตามที่นิยม  มากกว่าแห่งอื่น มีผู้นำข้าวหอมมะลิ ไปปลูกในประเทศอื่น ๆ แต่คุณภาพไม่อาจเทียบเคียงกับข้าวหอมมะลิ ที่ปลูกในประเทศไทย  โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า  เป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะล ิที่ดีที่สุดในโลก ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของข้าว ข้าวมีปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับ การเจริญเติบโต คือ  ดิน  น้ำ  ลม(อากาศ) ไฟ ดินหรือสภาพพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการปลูกข้าว ข้าวเป็นพืชที่ปลูกได้ทุกสภาพพื้นที่หรือภูมิประเทศ ถ้าเลือกใช้พันธุ์ที่เหมาะสม ไม่ว่าจะปลูกบนภูเขาสูง ในหุบเขา ที่ดอน ที่ราบลุ่ม ถ้ากล่าวถึงระดับน้ำ  ข้าวสามารถปลูกได้ในสภาพที่ดอนเป็นข้าวไร่  โดยไม่มีน้ำขัง ถ้ามีน้ำขังลึกตั้งแต่   1  ซม. ถึง 50  ซม. เป็นข้าวนาสวน ถ้าระดับน้ำลึกมากกว่า  50  ซม.  ปลูกข้าวน้ำลึก  และข้าวที่ปลูกในนาลึกกว่า 100  ซม. เป้ฯเวลาไม่น้อยกว่า  1  เดือน  เรียกว่าข้าวขึ้นน้ำ  แต่สภาพพื้นที่ที่เหมาะสมสำหนับปลูกข้าวและให้ผลผลิตสูงที่สุด คือ ปลูกในที่ราบลุ่มเป็นข้าวนาสวนที่มีน้ำลึก 1-50  ซม. แต่ถ้าสามารถรักษาระดับน้ำไม่เกิน 20  ซม.  จะเหมาะสมดี แต่ในสภาพนาน้ำฝนปฏิยัติ ตามได้ลำบาก ดิน      ดินเป็นที่ค้ำจุน อยู่อาศัยและให้ธาตุอาหารแก่พืช ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง มีอินทรีย์วัตถุมาก (2-3%) มีอาหารพืชครบถ้วน มีความเป็นกรดเป็นด่าง ประมาณ 5-7 และเป็นดินที่อุ้มน้ำดี จะปลูกข้าวได้ผลผลิตสูง แต่ดินนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนมาก มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ มีอินทรีย์วัตถุต่ำว่า 1 % ระบายน้ำดี ดินเป็นทราย และเป็นกรด คือ มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ระหว่าง 4.5-5 นอกจากนี้ดิน บางแห่งยังเป็นดินเค็ม ดินที่มีเหล็กสะสมอยู่มาก ทำให้ข้าวเกิดอาการผิดปกติ ดังนั้น จึงไม่สามารถเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมได้ตามที่ต้องการ จึงต้องหาทางปรับปรุงบำรุงดินให้มีสภาพ เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของข้าวต่อไป น้ำ  ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นาโดยอาศัยน้ำฝน ผลผลิตข้าวจะมากน้อย จึงขึ้นอยู่กับการตกของฝน ทั้งปริมาณและการกระจายโดยเฉลี่ยต้นข้าวที่มี อายุประมาณ  120  วัน ต้องการใช้น้ำตลอดฤดูปลูก ประมาณ 1,000-1,200  มม.ต่อไร่ ทั้ง ๆ ที่ปริมาณฝน รวมต่อปีไม่น้อยกว่า 900  มม. ลมหรืออากาศ  ในสายลมมีก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งพืชนำไปใช้ในขบวนการสังเคราะห์แสง และลดอุณหภูมิทำให้อัตราการหายใจของต้นข้าวลดลง  เพราะถ้าต้นข้าว หายใจมาก ก็จะช้พลังงานที่สะสมหรือสร้างจากขบวนการสังเคราะห์แสงไปมาก ทำให้ เจริญเติบโตลดลง และถ้าลมพัดแรงเกินไปต้นข้าวก็จะหักล้ม ไฟ (แสงแดด) ต้นข้าวใช้แสงแดดในการสงเคราะห์และสร้างอาหารเพื่อการเจริญเติบโตสร้างเม็ด และเทศไทยมีช่วงแสง แดดนาน เพียงพอต่อความต้องการของต้นข้าว ถ้ามาวันที่ฝนตก และท้องฟ้ามีเมฆหนา ไม่มีแสงแดดวันนั้นการสร้างอาหารของต้นข้าวจะน้อย การเจริญเติบโตจะลดลง เมื่อทำนาปรังคือปลูกข้าวในฤดูแล้งที่มีแสงแดด จึงได้ผลผลิตสูงกว่านาปีที่ปลูกในฤดูฝน วงจรชีวิตของข้าว  ข้าวมีการเจริญเติบโตเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ มีการสืบพันธุ์สร้างหน่วยขยายพันธุ์สืบทอดวงศ์ตระกูลของตัวเอง มิให้สูญหายไปจากโลก

การเจริญเติบโตของต้นข้าวแบ่งออกได้ เป้น 3  ระยะ คือ
       1.  การเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ ในระยะนี้แบ่งย่อยได้เป็น
           1.1 ระยะกล้า นับจากเมล็ดข้าวเริ่มงอก จนถึงประมาณ 25  วัน ระยะนี้ข้าวจะใช้อาหารจากเมล็ด เป็นส่วนใหญ่
           1.2 ระยะแตกกอ  เป็นการเจริญเติบโตต่อจากระยะกล้า ต้นข้าวจะแตกกอเป็นต้น แขนงออกมาจากต้นแม่เดิม เพิ่มปริมาณต้นข้าวจนถึงระดับหนึ่งแล้วหยุดแตกกอ เพื่อเตรียมเข้าสู่ ระยะการ เจริญเติบโตในช่วงต่อไป ระยะนี้ใช้เวลา 30-50  วัน ขึ้นอยู่กันพันธุ์ข้าว ถ้าเป็นข้าวไวแสงปลูกเร็วเกินไป ต้นข้าวยังไม่ได้รับช่วงแสงที่เป็นวันสั้นที่พอเหมาะก็เกิดระยะเฉี่อย ต้นข้าวเติบโตเพิ่มความสูงเพิ่มใบ และ อาจแตก หน่อเพิ่มขึ้น แต่เป็นหน่อไม่สมบูรณ์ เพื่อรอเวลาออกดอกซึ่งไม่เป็นผลดี เพราะข้าว จะแก่และ กินปุ๋ยไปเรื่อย ๆ
       2. ระยะสืบพันธุ์  ถ้าเป็นข้าวไม่ไวแสงเมื่อหยุดการแตกกอก็จะเริ่มสร้างรวงอ่อนตามอายุ ถ้าเป็นข้าว
ไวแสง เมื่อได้รับช่วงแสงวันสั้นพอเหมาะ (ขึ้นกันพันธุ์) ก็จะเริ่มสร้างรวงอ่อนเช่นกัน นับจากข้าวเริ่มสร้าง
รวงอ่อน ประมาณ 30 วัน ก็จะออกดอก ดอกข้าวบานและเกิดการผสมเกสร และจะเข้าสู่ระยะต่อไป
      3. ระยะสร้างเม็ด นับจากดอกข้าวผสมเกสรแล้ว จะเกิดต้นอ่อนในเมล็ดและมีการสะสมแป้งในช่วงแรก แป้งในเมล็ดจะเป็นน้ำคล้ายน้ำนม เรียกว่าระยะน้ำนม รวงข้าวจะเริ่มโน้มลง แป้งในเมล็ดจะค่อย ๆ เป็นแป้งแข็งขึ้น จนเปลือกเมล็ดเป็นสีเหลือง  ใบข้าวเริ่มกลายเป็นสีเหลือง จนเมล็ดสุกแก่เต็มที่พร้อม ที่จะเก็บเกี่ยวได้ ระยะนี้กินเวลาประมาณ 30  วัน นับจากข้าวออกดอก พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมในนา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  พันธุ์ข้าวนับเป็นปัจจัยเริ่มต้นการปลูกที่สำคัญ พันธุ์ข้าวที่ปลูกมีอยู่มากมาย ให้ชาวนาได้เลือกปลูกให้เหมาะสมกับสภาพน้ำ และฝนฝ้าอากาศ มีทั้งชนิดไวแสง ไม่ไวแสง ข้าวไร่ ข้าวนาสวน ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว อายุเบา อายุหนัก รวมทั้งมีคุณสมบัติของพันธุ์ซึ่งหลากหลายให้เลือก  สำหรับใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  มีพันธุ์ข้าวหลายพันธุ์ที่สามารถใช้ปลูกได้ดี เทคโนโลยีการผลิต               นอกจากการ เลือกใช้พันธุ์ข้าวให้ถูกต้องและเหมาะสมกับระบบนิเวศน์และฤดูการปลูกแล้ว  เทคโนโลย ีการผลิตต่างๆ ตั้งแต่ช่วงเวลาปลูก การเตรียมเมล็ดพันธุ์ การเตรียมดิน วิธีการปลูก การให้น้ำและการใส่ปุ๋ย มีบทบาท สำคัญต่อการผลิตข้าว ซึ่งเกษตรกรจะต้องเลือกใช้ให้ถูกต้องกับพันธุ์ข้าว และเหมาะสมกับสภาพพื้นที่  การทำนาจึงจะได้ผลดีตามต้องการ 1. ช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสม  การกำหนดช่วงปลูกให้ถูกต้องกับสภาพแวดล้อม ในพื้นที่  โดยปริมาณน้ำในชลประทาน ปริมาณและการกระจายของฝน  และอุณหภูมิอากาศ ฯลฯ  ไม่ให้ต้นข้าวอยู่ใน นาสั้นหรือนานเกินไปเช่นในนาชลประทานซึ่งมีสภาพแวดล้อม และสามารถใช้ปัจจัยการผลิตได้        อย่างเหมาะสม ต้นข้าวควรอยู่ในนาประมาณ  120 วัน แต่ในนาน้ำฝน  ซึ่งสภาพแวดล้อมอาจไม่เหมาะสมและมีปัจจัยการผลิตที่ค่อนข้างจำกัด  ควรเปิดโอกาสให้ต้นข้าวอยู่ ในนานานกว่าในชลประทานเล็กน้อย  ประมาณ 140 วัน จะทำให้ต้นข้าวมีเวลาในการสะสมน้ำหนักแห้ง ได้นานขึ้น เพื่อชดเชยการการเสียโอกาส เพราะต้นข้าวที่ปลูกในนาน้ำฝนอาจมีอัตราการเจริญ เติบโตในบางช่าวต่ำกว่าที่ควรจะเป็นฤดูนาปี: ช่วงเวลาที่ปลูกที่เหมาะสม  มีดังนี้               
               นาลุ่ม: มิถุนายน-กรกฎาคม                
               ข้าวไร่: กลางเดือนพฤษภาคม-กลางเดือนมิถุนายน
           ฤดูนาปรัง: สามารถปลูกได้ในเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์
ถ้ามีน้ำเพียงพอ แต่ควรหลีกเลี่ยงช่วงปลูกที่สภาพแวดล้อมล้อมมีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าว เช่นช่วงปลูกที่ต้นข้าวออกดอกในขณะที่อุณหภูมิต่ำหรือสูงเกินไป และหรือช่วงปลุกที่ต้องเก็บเกี่ยวในขณะที่ฝนตกชุก
     2. การเตรียมเมล็ดพันธุ์ ก่อนปลูกข้าวจำเป็นต้องคัดเลือกเมล็ดพันธุ์อย่างพิถีพิถันเพื่อกำหนด
อัตราเมล็ดพันธุ์ต่อหน่วยพื้นที่ ได้อย่างเหมาะสม  และลดปัญหาข้าวปน รวมถึงแรงงานที่ใช้กำจัด การเตรียมเมล็ดพันธุ์ควรปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้
       2.1 ใช้เมล็ดพันธุ์แท้ที่มีความบริสุทธ์ คือไม่มีข้าวพันธุ์อื่นปน ไม่มีข้าวแดงปน
       2.2 ฝัดเอาสิ่งเจือปนออก เช่น เศษฟาง ข้าวลีบ เมล็ดวัชพืช
      2.3 ก่อนนำไปหว่าน ควรทำการทดสอบความงอก โดยสุ่มตัวอย่างข้าวมานับเมล็ดจำนวน 100  เมล็ด แล้ววางเรียงบนจาน ที่ใช้เศษผ้ารองก้นจาน เมื่อวางเมล็ดเสร็จแล้วให้เติมน้ำแช่เมล็ดข้าวไว้ 1 คืน แล้วจึงเทน้ำออก ในช่วงที่รอเมล็ดงอกนั้นควรพรมน้ำอย่าให้เมล็ดแห้ง ประมาณ 6-7 วัน จึงนับต้นกล้าที่งอกสมบูรณ์แข็งแรง  ควรทำแบบเดียวกัน 3-5 จานๆละ 100 เมล็ด เพื่อจะได้แน่ใจว่าเมล็ดงอกโดยเฉลี่ยกี่เม็ด  เมล็ดพันธุ์ที่ดีควรมีความงอกอย่างน้อย 80 เปอร์เซ็น ขึ้นไป  หมายถึงใน 100 เมล็ดที่เพาะควรได้ต้นกล้าที่งอกสมบูรณ์อย่างน้อย 80 ต้น 2.4 เมือทดสอบความงอกแล้วก็เตรียมเมล็ดพันธุ์ให้เหมาะกับพื้นที่ที่ที่จะหว่านถ้าเตรียมดินดีไม่มีนก หนู มด ที่จะทำลายเมล็ดพันธุ์ข้าวที่หว่านอาจใช้เมล็ดพันอัตราพอดี แต่ ถ้ามีนก หนู มดทำลาย และเมล็ดมีความงอกต่ำ ให้เพิ่มเล็ดพันธุ์ให้มากขึ้น 3. การเตรียมดิน วัตถุประสงค์หลักของการเตรียมดิน คือสร้างสภาพที่เหมาะสมสำหรับการงอก และเจริญเติบโตของต้นข้าว ความสามารถในการปลดปล่อยธาตุอาหารจากดิน นอกจากนั้นยังเป็นการกำจัดวัชพืช โรค แมลง และสัตว์ศัตรูข้าวบางชนิดได้อีกด้วย ในการเตรียมดิน จะต้องสอดคล้องกับวิธีการปลูกข้าว อาจเป็นการเตรียมดินมาก ปานกลาง หรือเตรียมดินน้อย ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของดิน และสภาพแวดล้อมในแปลงนาก่อนปลูกข้าว เนื่องจากวิธีการปลูกข้าวมีหลานวิธี ขั้นตอนการเตรียมดินที่ควรปฏิบัติ  มีดังนี้ 3.1 ไถดะ  หลังฝนแรกในราวเดือนพฤษภาคมหรือ มิถุนายน เป็นการกลับดินครั้งแรก เพื่อกลบตอซังและหญ้าให้สลายเป็นปุ๋ยให้แก่ต้นข้าว 3.2 ไถแปร  ไถในทิศตรงข้ามกับการไถดะ เพื่อย่อยดินให้เหมาะสมต่อการปักดำ หรือการงอกของเมล็ดพันธุ์ข้าว เมื่อไถแปรควรเก็บหญ้าออกจากแปลงนาให้สะอาดเท่าที่จำทำได้ เพื่อลดจำนวนวัชพืชที่จะข้นมาแข่งกับต้นข้าว 3.3 คราด เพื่อย่อยดินให้ละเอียดยิ่งขึ้น เพื่อคราดหญ้าออกจากแลงนา และปรับพื้นที่นาให้ราบเรียบ ลักษณะแปลงนาที่มีการเตรียมดินอย่างดี คือ วัชพืช (หญ้า) และตอซังฝางข้าวจะย่อยสลาย พื้นที่นามีระดับราบเรียบสม่ำเสมอ ดินร่วน 4. วิธีการปลูก  เกษตรกรสามารถเลือกวิธีการปลูกที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมโดยมีการเตรียมดินที่เหมาะสมกับวิธีการปลูกดังนี้ 4.1 วิธีปักดำ เป็นวิธีการปลูกที่เหมาะสมสำหรับนาชลประทาน และนาน้ำฝนที่มีน้ำค่อนข้างสมบูรณ์ การปฏิบัติแบ่งเป็น 2  ขั้นตอน  คือการตกกล้า และการปักดำ 4.1.1 การตกกล้า - ควรเลือกแปลงที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์และสามารถระบายน้ำได้ - ไถดะ ไถแปร คราด และทำเทือก - แบ่งแปลงย่อย กว้างประมาณ 1-2 เมตร ยาวตามความยาวของแปลงขนานทิศทางลม เว้นระหว่างแปลงประมาณ 30  ซม. แล้วลูบเทือก - ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีความงอกไม่ต่ำกว่า 80 %  อัตราในแปลงกล้า 50-70 กรัม ต่อตารางเมตร สำหรับในพื้นที่ปักดำ 1 ไร่ ใช้เมล็ดพันธุ์ตกกล้า 5-7 กิโลกรัม - นำเมล็ดข้าวแซ่น้ำประมาณ 24  ชม. แล้วนำไปหุ้มประมาณ 36-48 ชม. - หว่านเมล็ดบนแปลงทีเตรียมไว้ - หลังหว่านเมล็ด รักษาแปลงกล้าไม่ให้น้ำท่วมหลังหลังแปลง แต่ให้มีความชื้นเพียงพอสำหนับงอก แล้วค่อย ๆ เพิ่มระดับน้ำตามการเจริญเติบโตของต้นข้าวแต่ไม่ควรเกิน 5 ซม. - ป้องกันกำจัดโรคแมลงเท่าที่จำเป็น - ถอนกล้าเมื่ออายุกล้าประมาณ 20-30  วัน 4.1.2 การปักดำ - ไถดะ ไถแปร คราด ให้ผิวดินเรียบ มีน้ำขังไม่เกิน 5 ซม. - ปักดำข้าวอายุ 20-30 วัน - ใช้ระยะปักดำระหว่างกอและแถว 20x 20 หรือ 25x 25 จำนวนต้น 3-5 ต้นต่ำจับ 4.2 วิธีหว่านน้ำตม - ไถดะ ไถแปร คราด และทำเทือก - แบ่งแปลงกว่างประมาณ 5-10 เมตร ยามตามความยาวของแปลง - ใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีความงอกไม่ต่ำกว่า 80 %  อัตราประมาณ 15-20 กก./ไร่ - นำเมล็ดข้าวใส่ถุงผ้าดิบ หรือกระสอบป่าน - แช่เมล็ดประมาณ 24 ชม. แล้วนำไปหุ้ม 36-48 ชม. - หว่านเมล็ดบนแปลงที่เตรียมไว้ - หลังหว่านเมล็ดรักษาระดับน้ำไม่ให้ท่วมหลังแปลง แต่ให้มีความชื้นเพียงพอสำหรับการงอก แล้วค่อย ๆ เพิ่มระดับน้ำตามการเจริญเติบโต ของต้นข้าว 4.3 วิธีหว่านข้าวแห้ง - ไถดะ ไถแปร และคราด - ใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีความงอกไม่ต่ำกว่า 80 % อัตรา 15-20 กก. /ไร่ - หว่านเมล็ดแล้วคราดกลบ 4.4 วิธีโรยเป็นแถว หรือหยอด - ไถดะ ไถแปร และคราด - ใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีความงอกไม่ต่ำกว่า 80 % อัตรา 10-15 % กก./ไร่ 5. การให้น้ำ  ระดับน้ำมีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตทางลำต้นและการให้ผลผลิตของข้างโดยตรง กล่าวคือในระยะกล้า หรือเริ่มหว่านในการทำนาหว่านน้ำตม หรือคณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ได้  เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2502 มีชื่อว่า "ข้าวดอกมะละ 4-2-105 " * เลข 4  หมายถึง นำรวงมาจากอำเภอบางคล้า ซึ่งเป็นอำเภอหมายเลข 4 ของจังหวัดฉะชิงเทรา * เลข 2 หมายถึง พันธุ์ข้าวที่รวบรวมมานั้นเป็นพันธุ์ที่ 2 * เลข 105 หมายถึง รวงที่ 105  ต่อมาเรียกเป็นทางการว่า พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และคนทั่วไปมักเรียกสั้น ๆ ว่า ข้าวหอมมะลิ ลักษณะของพันธุ์ข้าวหอมที่ปลูกมาในภาคอีสาน ลักษณะของพันธุ์ขาวดอกมะละ 105 เป็นต้นข้าวมีลำต้นสีจาง ใบสีเขียวยาวค่อนข้าวแคบ ฟางอ่อนทรงกอแผ่  ใบธงทำมุมกับรวง เมล็ดข้าวรูปร่างเรียว ข้าวเปลือกสีฟาง ลักษณะพันธุ์ กข 15 มีลำต้นและใบสีเขียวอ่อน ใบยาวค่อนข้างแคบ ใบธงทำมุมกว้างกับรวง ฟางอ่อน ชูรวงเหนือใบ เมล็ดรูปร่างยาวเรียว ข้าวเปลือกสีฟาง ลักษณะพันธุ์ กข. 6 ทรงกอกระจายเล็กน้อย ใบยาวสีเขียวเข้ม ใบธงตั้ง เมล็ดยาวเรียวข้าเปลือกสีน้ำตาล คุณภาพอื่น ๆ ของข้าวขาวดอกมะละ 105 - เมล็ดข้าวสารมีแป้งอมิโลส ประมาณ 15-16 เปอร์เซ็นต์จัดเป็นข้าวอมิโลสต่ำหุงสุกเร็ว - ข้าวหุงสุก จะอ่อนนุ่มและมีกลิ่นหอม ความหอมเกิดจากสาร 2 acety-1pyrroline (2 -ซิทิล-1ไพโรลิน) เป็นสารหอมระเหย ซึ่งสารนี้มีกลิ่นที่เหมือนกับในใบเตย  ขนมปัง เนื้อย่าง ข้าวโพดคั่ว ความหอมนี้ถูกควบคุมโดยพันธุกรรม การเปลี่ยนแปลงของความหอมเกิดจากสภาพแวดล้อม (ดิน ฟ้า อากาศ) การเก็บเกี่ยว ตาก ไม่เหมาะสม ประวัติชื่อพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ข้าวหอมมะลิเป็นข้าวหอมที่มีในประเทศไทยมาช้านานแล้วอาจเป็นแสน เป็นหมื่น เป็นร้อย ๆ ปี แต่ขอย้อนรอยอดีตไปเพียงไม่ถึง 60 ปี ทราบว่า นายจรูญ  ตัณฑวุฒ แห่งแหลมประดู่ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ได้ปลูกข้าวดอกมะลิ ต่อมาปี พ.ศ. 2493 กองบำรุงพันธุ์ข้าว กรมการข้าว ได้ให้พนักงานข้าวอำเภอทั่วประเทศรวบรวมพันธุ์ข้าวท้องถิ่น ในจำนวนพนักงานข้าวนี้ มีนายสุนทร สีหะเนิน แห่งอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้รวบรวมข้าวหอมมะละส่งมาให้กองบำรุงพันธุ์ 199 รวง  ข้าวทั้ง 199 รวงนี้นำมาปลูกศึกษาพันธุ์ คัดเลือกพันธุ์ จนได้ต้นข้าวแถวที่ปลูกจากรวงที่ 105 ถูกใจผู้คัดเลือก จึงนำเข้าสู่ขบวนการปรับปรุงพันธุ์ให้บริสุทธิ์และผลิตเมล็มพันธุ์ออกส่งเสริมเกษตรกร      "  คำขวัญ    อำเภอท่าตูม "          ท่าตูมช้างใหญ่    ผ้าไหมเนื้อดี  ประเพณีเรือยาว   ข้าวหลามขึ้นชื่อ        เลื่องลือทุ่งกุลา      งามตาแม่น้ำมูล  


ข้าวหอมมะลิปลอดสารพิษ

    ที่ตั้ง บ้านตึกชุม หมู่ 4 ต. ชุมพลบุรี อ.ชุมพลบุรี จ. สุรินทร์

    การรวมกลุ่ม ผู้ริเริ่มคือนายสังวาลย์ ภาสำราญ เข้าประกอดผลิตภัณฑ์ข้าวหอมมะลิปลอดสารพิษและได้รับรางวัลจากสหกรณ์ปีละ 2,000 บาท การผลิตข้าวหอมมะลิจะมีการใช้ปุ๋ยชีวภาพปุ๋ยหมัก จะไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมี หรือยาฉีดที่ใช้สารเคมี ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอชุมพลบุรีได้ให้ความช่วยเหลือในด้านการให้ความรู้ด้านทฤษฎีและภาคปฏิบัติเรื่องการใช้ปุ๋ยยและสารเคมีเพื่อให้ปลอดสารพิษ และช่วยเหลือในด้านการให้เน้นผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร บรรจุถุงเพื่อจำหน่าย และช่วยเหลือในด้านการจัดการตลอด และมีหน่วยงานสหกรณ์การเกษตรอำเภอชุมพลบุรี เกษตรอำเภอ และหน่วยงานพัฒนาชุมชนให้การช่วยเหลือ