ห้องสมุดประชาชนอำเภอสนม

   ประวัติความเป็นมา   
                        ห้องสมุดประชาชนอำเภอสนม ตั้งขึ้นตามประกาศของกรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อครั้งแรกไม่มีอาคาร   สถานที่เป็นของตนเอง จึงได้อาศัยอาคารห้องสมุดวัดธาตุบ้านสนม ตำบลสนม อำเภอสนม เป็นที่ทำการชั่วคราว ขณะที่ยังไม่มีเจ้าหน้าที่ประจำ   และได้อาศัยพระเณรในวัดเป็นผู้ดูแล เอกสาร หนังสือส่วนใหญ่ เป็นของที่ได้รับมาจากการบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธา และการให้บริการยังอยู่ในวงจำกัด                       ต่อมาในปี 2534   กรมการปกครองได้อนุญาตให้ใช้ที่ราชพัสดุ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณที่ว่าการอำเภอสนม จำนวน 2 งาน 20 ตารางวา  เป็นสถานที่ก่อสร้างห้องสมุดประชาชนอำเภอสนม  และกรมการศึกษานอกโรงเรียน ได้จัดสรรงบประมาณปี 2538   เป็นจำนวนเงิน 640,000 บาท  (หกแสนสี่หมื่นบาทถ้วน)    ให้เป็นค่าก่อสร้างอาคารห้องสมุดประชาชนอำเภอสนม ตามมาตรฐานกรมการศึกษานอกโรงเรียน   เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียว กว้าง 12 เมตร ยาว 24.60 เมตร   โดยเริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม 2535   แล้วเสร็จในวันที่ 24 ตุลาคม 2538  และเริ่มเปิดบริการตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2539 จนถึงปัจจุบัน
  สถานที่ตั้ง
                  ห้องสมุดประชาชนอำเภอสนม   ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 220 หมู่ที่ 2 ถน
นศรีสนม อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ 32160 โทรศัพท์ 044- 589189

    บุคลากร
                 ชื่อ นางสาวเมธาวี สายไทย
    ตำแหน่ง
                 บรรณารักษ์ 3
   หน้าที่ความรับผิดชอบ
       
  
 1. จัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปี ของห้องสมุดประชาชน
               2. งานบริการ ให้บริการยืม - คืนหนังสือ บริการตอบคำถาม บริการสืบค้นข้อมูลหนังสือและสื่อโสต รับสมัครสมาชิก
               3. งานเทคนิค วิเคราะห์หมวดหมู่หนังสือ ลงทะเบียนหนังสือและสมาชิกด้วยโปรแกรม PLS เก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ
      จัดเก็บหนังสือ - วารสารขึ้นชั้น รายงานผลการปฏิบัติงานของห้องสมุด 

สภาพปัจจุบัน
                        ห้องสมุดประชาชนอำเภอสนม เป็นกิจกรรมหนึ่งของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอสนม มีภารกิจหลัก คือ การจัดบริการให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยมีรูปแบบและวิธีการที่จะให้ประชาชนได้เรียนรู้ มากที่สุด 3 ประการคือ
                        1. การเป็นแหล่งการเรียนรู้ตามอัธยาศัย
                       2. การเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงการศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบ
                       3. การเป็นศูนย์ข้อมูลชุมชน
                 
            กิจกรรมการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย
                      1. การบริการหนังสือ สื่อประเภทต่างๆ หมายถึงการจัดกิจกรรมให้บริการหนังสือและสื่อของห้องสมุด โดยมุ่งส่งเสริมให้ใช้บริการ เกิดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งสามารถนำความรู้นั้นไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
                      2.  การจัดนิทรรศการ เป็นการให้การศึกษาที่แสดงให้เห็นกระบวนการของเรื่องนั้น ให้ประชาชนได้ศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง เช่น จัดให้ความรู้เรื่องวันสำคัญต่างๆ วันนักขัตฤกษ์ หรือเทศกาลของชุมช น จ ัดเผยแพร่วิชาการที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตการประกอบอาชีพของประชาชน
ในท้องถิ่น จัดตามความต้องการของชุมชนและตามความต้องการของผู้มาใช้บริการ   
                         แหล่งความรู้ที่เชื่อมโยงระหว่างการศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบ ารที่จะทำการเรียนรู้ของบุคคลสามารถเชื่อมโยงการศึกษาในระบบการศึกษา การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยเข้าด้วยกัน ห้องสมุดควรจะมีบทบาทเป็นผู้เชื่อมโยงการเรียนรู้ของการศึกษารูปแบบต่างๆ เข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการเรียนรู้มากที่สุด
                    1. จัดตั้งและประชุมคณะกรรมการห้องสมุดที่ประกอบด้วยชุมชน โรงเรียน สถานศึกษา สถานประกอบการและห้องสมุด เพื่อชี้แจง
                     2. ประสานงานชุมชน โรงเรียนหรือสถานศึกษา ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำชุมชน
                     3. ประชุมปฏิบัติการอาสาสมัคร ความรู้ ทักษะและทัศนคติ ในการดำเนินงาน
                     4. สำรวจความต้องการใช้บริการด้านการศึกษา ความรู้และวันสำคัญ วันนักขัตฤกษ์หรือเหตุการณ์ที่สำคัญในชุมชน เพื่อจัดการหรืออนุรักษ์

                                   ศูนย์ข้อมูลชุมชน
                    ศูนย์ข้อมูลชุมชน หมายถึง กิจกรรมการรวบรวมข้อมูลประเภทต่างๆ ในชุมชนทุกรูปแบบและประเภทข้อมูลเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการให้บริการ
   การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การพัฒนาอาชีพ และการแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศระหว่างเครือข่าย และผู้สนใจที่มีความประสงค์ในการ
ใช้ข้อมูล
                     การจัดศูนย์ข้อมูลชุมชนในห้องสมุดประชาชน เน้นการจัดเก็บข้อมูลของชุมชนในระดับที่ห้องสมุดตั้งอยู่ เพื่อสามารถให้บริการข้อมูลทุกรูปแบบ  ต่างๆ

                          การจัดบริการในห้องสมุดประชาชนอำเภอสนม            
         การ จัดบริการของห้องสมุดประชาชนอำเภอสนม แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ บริการภายในห้องสมุดและบริการภายนอกห้องสมุด  

                         1.    การบริการภายในห้องสมุดมีดังนี้
                                  1.1   บริการระเบียบการใช้ห้องสมุด เขียนระเบียบการใช้ห้องสมุดติดที่หน้าเคาวน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้บริการห้องสมุดทราบ
                            1.2   บริการตอบคำถาม หรือบริการเอกสารสนเทศ บริการตอบคำถามทางโทรศัพท์ และช่วยการค้นคว้าหนังสือ สื่อโสตฯต่างๆ
                            1.3   บริการยืม - คืนหนังสือ ให้ผู้ใช้บริการยืมหนังสือและวัสดุต่างๆ ที่ต้องการ โดยจัดทำหลักฐานการยืม - คืน
                           1.4    บริการแนะแนวการอ่านเป็นบริการที่แนะนำแก่นักเรียนทั้งในระบบและนอกระบบ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ใช้บริการได้มาใช้บริการในห้องสมุดมากขึ้น           
                           1.5   บริการแนะนำหนังสือใหม่ จัดนิทรรศการหนังสือใหม่
                           1.6   บริการหนังสือพิมพ์รายวัน จัดหนังสือพิมพ์ไว้บริการวันละ 2 รายชื่อ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และมิติชน
                          1.7   บริการวารสาร จัดวารสารต่างๆ ขึ้นชั้น จำนวน 23 เล่ม
                          1.8   บริการหนังสือหมวดวิชาการทั่วไปตั้งแต่หมวด 000 ถึง 900  จัดไว้บริการให้ผู้อ่าน ยืม - คืน
                          1.9   บริการหนังสืออ้างอิง   บริการตั้งแต่หมวดทั่วไปถึง 900   บริการให้อ่านแต่ไม่มีบริการยืม - คืน
                               การพัฒนาบริการห้องสมุด
                                 ห้องสมุดประชาชนอำเภอสนมได้พัฒนาการให้บริการ   เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการศึกษานอกโรงเรียน  โดยจัดบริการเป็นศูนย์ต่างๆ และมุมต่างๆ ดังนี้
                                 2.1    ศูนย์การเรียนรู้  ให้บริการความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการศึกษานอกโรงเรียน
                                 2.2    ศูนย์ข้อมูล   จัดป้ายประกาศข้อมูลข่าวสารการศึกษานอกโรงเรียน  ข่าวสารของเครือข่ายต่างๆ
                                 2.3    บริการมุม กศน.    มีหนังสือแบบเรียนการศึกษาสายสามัญ ระดับ ประถม,ม.ต้น และม.ปลาย
                                 2.4    บริการมุมเด็ก มีหนังสือเด็ก หนังสือสำหรับเยาวชน และของเล่นสำหรับเด็ก
                                 2.5    บริการมุมเฉลิมพระเกียรติ มีหนังสือพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระบาทสมเด็จพระบรมราชินีนาถ  สมเด็จย่า และพระราชวงศานุวงศ์ หนังสือโครงการพระราชดำริ หนังสือพระราชนิพนธ์

                                 2.6     บริการมุมศิลปและวัฒนธรรม โดยจัดหาข้อมูลของบุคลสำคัญในท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัสดุเครื่องใช้ในท้องถิ่น
                                 2.7     บริการมุมสื่อโสตทัศนวัสดุ มีสื่อวีดีทัศน์ของการเรียนการสอนสายสามัญ ทั้งระดับ ม.ต้น และม.ปลาย สื่อทางด้านการประกอบอาชีพ   เทปเสียง   ซีดี
                                 2.8       บริการน้ำดื่ม จัดน้ำดื่มไว้ให้บริการ ผู้มาใช้บริการของห้องสมุด
                                  2.9      บริการห้องสุขา จัดบริการห้องสุขาหญิง 1 ห้อง ห้องสุขาชาย 1 ห้อง
การจัดบริการบริเวณภายนอกห้องสมุดประชาชนอำเภอสนม
                    1.   ป้ายชื่อห้องสมุดประชาชนตั้งอยู่บริเวณประตูทางเข้า
                    2.   ป้ายศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอสนม
                    3.   ป้ายเชิญชวนให้เข้าไปใช้บริการห้องสมุด
                    4.   ป้ายบอกเวลาเปิด -ปิด บริการ
                    5.  ป้ายประกาศงานของการศึกษานอกโรงเรียนและงานเครือข่ายต่างๆ
                    6.   รั้วรอบบริเวณ ห้องสมุด เป็นรั้วเหล็ก
                    7.    ศาลาใช้เป็นที่พบกลุ่มของนักศึกษา และเป็นที่นั่งเล่น นั่งอ่านหนังสือวารสารต่างๆ       
                                      การจัดหาครุภัณฑ์ของห้องสมุดประชาชน มี      13 รายการ
                                 1.      ชั้นวางหนังสือ 6 ชั้น               จำนวน            5      ที่
                                 2.       ชั้นวางวารสาร 6 ชั้น              จำนวน           1      ที่
                                 3.       เคาวน์เตอร์รับ - จ่าย                จำนวน           1     ที่
                                 4.      ชั้นวางของ  6  ชั้นๆละ 4 ช่องจำนวน           1     ที่
                                  5.      ตู้บัตรรายการ 20 ลิ้นชัก          จำนวน           1    หลัง
                                 6.        ที่วางหนังสือพิมพ์พร้อมแคร่ จำนวน           2     ตัว
                                  7.       โต๊ะทำงาน                                 จำนวน            1     ตัว
                                  8.        เก้าอี้นั่งสำหรับบรรณารักษ์   จำนวน            3     ตัว
                                  9.       เก้าอี้นั่งอ่านหนังสือ                 จำนวน         32     ตัว
                                 10.      ตู้เหล็กขนาด 4 ลิ้นชัก               จำนวน           1      ตัว
                                 11.      โต๊ะอ่านหนังสือ                        จำนวน           5      ตัว
                                 12.       ตู้เหล็กเก็บเอกสาร 2 บาน        จำนวน           1    ตัว
                                 13.       คอมพิวเตอร์พร้อมโต๊ะทำงาน จำนวน           1    เครื่อง