ห้องสุมด "เฉลิมราชกุมารี" อำเภอศีขรภูมิ

ประวัติความเป็นมา เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 36 พรรษา ในปีพุทธศักราช 2534 ด้วยความสำนึก ในพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงต่อมีงานการศึกษาของชาติ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ ตลอดจน สนองพระราชปณิธาน และแนวพระราชดำริ ที่แสดงไว้ในโอการสต่าง ๆ กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้ขอพระราชทานพระราชาอนุญาต ดำเนินโครงการจัดการ ตั้งห้องประชาชน ซึ่งได้รับพระราชทานนามว่า ห้องสมุดประชานชน "เฉลิมราชกุมารี" กรมการศึกษานอกโรงเรียน ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งที่รับผิดชอบ ในการจัดการศึกษา ให้กับประชาชนแนวทาวการศึกษาตลอดชีวิต ได้รับนโยบายดำเนิน โครงการจัดสร้างห้องสมุดประชาชน " เฉลิมราชกุมารี" โดยมีหลักการสำคัญคือ การประสานหาความร่วมมือร่วมใจจาดทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชนตลอดจนประชาชนทั่วไปทั้งประเทศ สำหรับจังหวัดสุรินทร์ ได้ร่วมโครงการและดำเนินการจัดการสร้างห้องสมุดประชานชน "เฉลิมราชกุมารี" ถึง 2 แห่ง ทั้งนี้ด้วยการสนับสนุนงบประมาณ จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร ์ โดยเฉพาะชาวอำเภอศีขรภูมิ ประวัติความเป็นมา สถานที่ก่อสร้าง ห้องสมุดประชานชน "เฉลิมราชกุมารี" อำเภอศีขรภูมิ เริ่มดำเนินการกอสร้าง โดยวางศิลา ฤกษ์ เมื่อวันพฤหัสที่ 26 กันยายน 2534 บนที่ดินราชพัสดุ แปลงหมายเลขทะเบียน สร. 372 ซึ่งตั้งอยู่ในเขตสุขาภิบาล (บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอ) ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ มีเนื้อที่ 1 ไร่ ที่ดินทั้ง 2 แปลงกรมการปกครองอนุญาตให้ดำเนินการก่อสร้างห้องสมุดประชาชน ความหนังสือกรมการปกครองที่ มท. 0409/ 11415 ลง วันที่ 17 พฤศจิกายน 2532 งบประมาณการก่อสร้าง สถานที่ แหล่งงบประมาณ กรมการศึกษา องค์การบริหาร อำเภอจัดหา รวม นอกโรงเรียน ส่วนจังหวัด ห้องสมุดประชาชน 1,250,000 800,000 200,000 2,250,000 "เฉลิมราชกุมารี"

ผลการดำเนินงาน
การก่อสร้างห้องสมุดประชาชนทั้ง 2 แห่ง เสร็จเรียบร้อย ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2535 และในปีงบประมาณ 2535 กรมการศึกษานอกโรงเรียนได้จัดสรรงบประมาณค่าหนังสือและค่าครุภัณฑ์ให้ส่วนหนึ่ง ซึ่งจังหวัดโดยศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดสุรินทร์ ร่วมกับอำเภอศีขรภูมิ

ดำเนินการเปิดให้ประชานชนใช้บริการ
1. ห้องสมุดประชานชน "เฉลิมราชกุมารี" อำเภอศีขรภูมิเปิดใช้บริการตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2535 เป็นต้นมา ปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่ไปปฏิบัติงานประจำจำนวน 3 คน นักการภารโรง 1 คน แม้ว่าห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี" ศีขรภูมิในจังหวัดสุรินทร์ เปิดให้บริการไป แล้วนั้น แต่เป็นเพียงการ ให้บริการ ได้เพียง ระดับหนึ่ง ยังไม่สมบูรณ์ แบบแนวทางการจัดห้อองสมุดประชาชน "เฉลิมพระราชกุมารี" และงบประมาณที่ ได้รับจัดสรร จากกรมการศึกษานอกโรงเรียน มีเพียงสมทบการก่อสร้างและจัดซื้อครุภัณฑ์ ให้ส่วนหนึ่งเท่านั้น จำเป็นต้นดำเนินการจัดการ/ตกแต่ง ทั้งภายในภายนอกอาคาร ให้มีความพร้อมที่จะทำให้ประชาชนมาใช้บริการอย่างหลากหลาย ด้วยศรัทธา มหาชน จังหวัดสุรินทร์โดยเฉพาะชาวอำเภอศีขรภูมิตลอดจน ความร่วมมือร่วมใจของคณะกรรมการทั้งระดับจังหวัดและอำเภอ จึงทำให้มีเงินบริจาคจำนวนกว่า 800,000 บาทประกอบกับจังหวัดโดยนายกอบกุล ทองลงยา ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ได้อนุเคราะห์พิจารณาสรรงบประมาณ ของจังหวัดสมทบให้ จัดทำสวนหย่อม ของอำเภอศีขรภูมิ 300,000 บาท และที่สำคัญเพราะความมุ่งมั่นตั้งใจ ของคณะกรรมการจัดตกบริเวณ กรรมการจัดนิทรรศการและกรรมการห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี" อำเภอศีขรภูมิ ที่ได้ร่วมแรงร่วมใจให้การสนับสนุนทั้งกำลังกาย กำลังใจ กำลังความคิดและกำลังทรัพย์ จึงทำให้ห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี ของอำเภอศีขรภูมิ ในจังหวัดสุรินทร์ มีความสมบูรณ์ตามรูปแบบทั้งภายนอกและภายในอาคาร ในส่วน ภายนอกมี การจัดสวนหย่อมปลุกไม้ยืนต้น ไม้ดอกไม้ประดับ ทำซุ้ม ศาลา สวนสมุนไพร สวนสุขภาพ และสวนป่า ซึ่ง ความสำเร็จเหล่านี้จะต้องยกให้ประชาชน ชาวศีขรภูมิตลอดจน หน่วยราชการ องค์กร หลายหน่วยงานที่อนุเคราะห์ อาทิเช่น
สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัดสุรินทร์
หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 54
วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์
โรงเรียนกาบเชิงวิทยา
โรงพยาบาลกาบเชิง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งพ่อค้าคหบดีศีขรภูมิ และหน่วยงานตลอดจนกลุ่มต่าง ๆ
ที่ไม่อาจกล่าวนามได้ครบถ้วน ร่วมกันบริจาคเงิน วัสดุอุปกรณ์แรงงาน ดำเนินการจัดสวน ทำรั้วและประตูตกแต่งบริเวณ ส่วนภายในอาคาร ได้จัดของห้องต่าง ๆ เพื่อบริการความรู้ ให้กับประชาชนโดย ผ่านสื่อที่หลากหลายด้วยรูปและเนื้อหาสาระ

การจัดบริการในห้องสมุด

1. ห้องสมุดและครอบครัว โดยการนำของท่านผู้อำนวยการการประถมศึกษา จังหวัดสุรินทร์ (นายชาญชัย วัชรกุล) จัดกิจกรรมต่าง ๆ ไว้ดังนี้
1.1 มุมของเล่นเด็กยุคใหม่
1.2 มุมของเล่นพื้นเมือง
1.3 มุมเวทีคนเก่ง
1.4 มุมพัฒนาการทางกาย
1.5 มุมคุณแม่/ครอบครัว
2. ห้องอ่านหนังสือ โดยการนำของท่านผู้ช่วยศึกษาธิการจังหวัดสุรินทร์ (นายบุญเลิศ พรรณพิบูรย์) มีกิจกรรม คือ

2.1 จัดทำบัตรรายการและจัดหมวดหมู่หนังสือ
2.2 จัดทำตู้กฤตภาค
2.3 จัดมุมนักศึกษาท้องถิ่น
2.4 จัดห้องธรรมะ
2.5 จัดห้องอ้างอิง (ประกอบด้วยหนังสืออ้างอิง และข้อมูลเพื่อการพัฒนา
2.6 จัดบริการการอ่าน
3. ห้องอเนกประสงค์ โดยการนำของท่านอธิสการวิทยาลัยครูสุรินทร์ (นายจำรัส บุญญานันต์) ได้จัด
กิจกรรมต่าง ๆ ไว้ดังนี้
3.1 มุมศิลปวัฒนธรรม นำเสนอเรื่องราวของโบราณสถานและขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่น ตลอด
จน วิถีชีวิตของคนพื้นเมืองในรูปของภาพเรืองแสง ภาพธรรมดา หุ่นจำลอง ป้ายบรรยาย และอื่น ๆ
3.2 มุมพัการ เช่น 1. วีดีโอ 2. เทปคาสเซท - วิทยุเทป 3. จัดทำชุดศึกษาด้วยตนเองจากเทปคาสเซท 4 ชุด
4. ห้องเฉลิมพระเกียรติ โดยการนำเข้าของท่านปลัดจังหวัด (นายจีรศักดิ์ เกษณียบุตร) จักกิจกรรมต่าง ๆ
ไว้ดังนี้
1. จัดแสดงหนังสือพระราชนิพนธ์
2. จัดแสดงภาพพระกรณียกิจ
3. จัดแสดงงานฝีพระหัตถ์
4. จัดหนังสือ เฉลิมพระเกียรติไว้แสดง และให้ประชาชนได้ศึกษาค้าคว้า
จากจุดเริ่มต้น จนถึงวันนี้ ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจและถือเป็นศิริมงคลของชาวสุรินทร์ ที่ ห้องสุมดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี" อำเภอศีขรภูมิ สำเร็จลงได้ด้วยความตั้งใจ ความจริงใจ และแรงศรัทธา ของทุกฝ่ายเป็ผลทำให้ชาวสุรินทร์ มีห้องสมุดที่ดี มีบริการที่หลากหลาย สามรถใช้เป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ ข่าวสารข้อมูลได้ค่อนข้าง จะสมบูรณ์แบบกว่าห้องสมุดประชาชน ทั่วไป นอกจากนี้ อาณาบริเวณของห้องสมุดยัง ได้จัดสภาพแวดล้อม ใหม่เหมาะสมกับพื้นที่ เพื่อประชาชนจะได้ใช้เป็นที่สำหรับพักผ่อนหย่อน ใจควบคุ๋ไปกับการแสวงหาความรู้ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าห้องสุมดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี" อำเภอศีขรภูมิ จะเสร็จสมบูรณ์แล้วแต่สิ่งสำคัญ อีกประการหนึ่ง คือ ทุกฝ่ายคงจะต้องร่วมมือ ร่วมใจกันบำรุงรักษาและพัฒนาให้ยืนยงคงความ เป็น ศูนย์รวม ของการบริการความร็ข่าวสารข้อมูลแก่ชุมชน
ตลอดจนไปทั่วกาลนาน