ห้องสมุดประชาชนทับทิมสยาม 04

สถานที่ตั้ง

หมู่บ้านโครงการทับทิมสยาม 04 ต.เทพารักษ์ อ.สังขะ จ.สุรินทร์

ความเป็นมา

ห้องสมุดประชาชนทับทิมสยาม04 สถานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่โครงการทับทิมสยาม 04 ซึ่งแต่เดิมเป็น ศูนย์ อพยพ หรือศูนย์ไซด์-B ซึ่งเป็นผลมาจากสงครามในกัมพูชา เมื่อใน พ.ศ. 2518 ได้เพิ่มความ รุนแรงมาก ขึ้น เป็นผลให้กัมพูชา ได้รับความเดือดร้อนถึงขั้นต้อง อพยพหนี ภัย สงคราม เข้ามาในเขต ไทยรัฐบาล ไทยได้ตระหนักถึงความมี มนุษยธรรม ตามหลักศากลว่า "สิทธิมนุษยชน" จึง ได้รับผู้ลี้ภัย ไว้เป็นการ ชั่วคราว ซึ่งผู้ลี้ภัยกลุ่มนี้เป็นกลุ่มเจ้านโรดม สีหนุ ต่อมา สถานการณ์ ใน ประเทศกัมพูชา ได้ลดความ รุนแรงลง และดีขึ้นตามลำดับ รัฐบาลไทยจึงได้ดำเนินการ จัดส่งกัมพูชา ที่ศูนย์อพยพไซด์-B กลับประเทศ ซึ่งชุดสุดท้ายส่งกลับเมื่อ วันที่ 14 ธันวาคม 2535 และได้มอบศูนย์อพยพไซด์-B ให้กับกอง กำลังสุรนารี ดูแลสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ์โดยมีศาสตราจารย์ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุลาลงกรณ์วลัยลักษณ ์องค์ ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ได้ทรงมีความห่วงใยความเป็นอยู่ และตระหนักถึงความทุกข์ ยาก ของราษฎรบริเวณชายแดน ไทย-กัมพูชา ซึ่งได้รับผลกระทบจาก ภัยสงคราม หลายรูปแบบ ส่งผลให้ เศรษฐกิจ สังคมการปกครองต่ำลง และได้รับความยากลำบาก ในการดำรงชีพ สถาบันวิขัยจุฬาภรณ์ จึงได้จัดทำ โครงการฟื้นฟู พื้นที่อพยพ ของชาวกัมพูชาที่ถอนตัวออกไปแล้ว และพืนที่ใกล้เคียง ด้วยการ พัฒนา สภาพแวดล้อม และสภาพชีวิตประชาชน เพื่อเป็นจุดศูนย์กลาง ในการพัฒนาขยาย ไปสู่หมู่บ้าน ป้องกัน ชายแดน ในลักษณะยุทธศาสตร์ พัฒนาสร้างพื้นดินไทยแนวชายแดน ให้เกิดความ มั่นคงถาวร ในที่สุด โดยกำหนดชื่อโครงการว่า "โครงการทับทิมสยาม 04" สถาบันวิจัยจุฬาภรณ ์ ได้จัดสรร งบประมาณ จำนวน 800,000 บาท (แปดแสนบาทถ้วน) ซึ่งเป็นงบประมาณ ในการก่อสร้าง ห้องสมุดตามแบบแปลน ของ กรมการศึกษานอกโรงเรียน จำนวน 1 หลัง และศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดสุรินทร์ ได้จัดงบปกติจัดซื้อวัสดุครุภัณฑ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และเปิดให้บริการเมื่อวนที่ 29 สิงหาคม 2538 ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอสังขะ ได้พัฒนาห้องสมุดทับทิมสยาม 04 เป็นศูนย์การเรียนชุมชน เพื่อเป็นการเรียนชุมชน เพื่อเป็นศูนย์กลาง การจัด กิจกรรมการศึกษาตลอดชีวิต ในอันที่จะกระจาย โอกาสทางการศึกษา ทุกรูปแบบ ให้แก่ประชาชน ทั้งสายสามัญ สายอาชีพ อัธยาศัย และอื่นๆ ในหมู่บ้าน ทับทิมสยาม 04 และหมู่บ้านใกล้เคียง ให้กว้างขวางทั่วถึง ตลอดจนเป็น แหล่งบริการชุมชน ในการจัด กิจกรรม ที่สอดคล้องกับ ความต้องการของ ประชาชนกลมกลืน กับวิถีชีวิต ของชุมชน ทันกับยุคเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัฒน์ เพื่อก่อให้เกิดสังคม แห่งการเรียนรู้ และพึ่งพา รวมทั้งเสริมสร้างวิถีประชาธิปไตย ซึ่งในการจัดกิจกรรมต่างๆ จะใช้สื่อหลาย รูปแบบ เช่น การศึกษาทางไกลไทยคม สื่อ โทรทัศน์การศึกษา สื่อเอกสารสิ่งตีพิมพ์ต่างๆ สื่อบุคคล และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

บุคลากร

1. นางสาวนภา แข่งขัน ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ห้องสมุด

การให้บริการ


- แนะนำการอ่านหนังสือและการใช้ห้องสมุด
- บริการตอบคำถามและช่วยในการค้นคว้า
- บริการทำกฤตภา

- บริการยืมส่งหนังสือ
- บริการรวบรวมบรรณานุกรม มุมต่างๆ
- มุมเด็ก
- มุมวารสาร
- มุมวีดีทัศน์
- มุมเฉลิมพระเกียรติ
- มุมป้ายนิเทศ