ช้าง (Elephant)
 

ช้าง (Elephant) ที่พบในปัจจุบันมี 2 ชนิด

 

 

1. ช้างเอเชีย (Elephant maximus)  

2. ช้างแอฟริกา(FOREST ELEPHANT or LOXODONTA)  

1. ช้างเอเชีย (Elephant maximus) มี 3 ชนิดย่อย

1.1 ช้างศรีลังกา (Elephant maximus maximus)
จะมีรูปร่างขนาดใหญ่ สีกายดำ ขนาดใบหูใหญ่ และมีสีกระจายมาก บริเวณใบหู ใบหน้า งวงและสำตัว มักจะเป็นสีดอ หรือไม่มีงาเป็นช้าง ที่อยู่ในตามธรรมชาติ เฉพาะในเกาะซีลอน หรือเกาะลังกา ซึ่งในปัจจุบัน เป็น ประเทศศรีลังกาเท่านั้น ช้างเอเชียพันธุ์ศรีลังกาตัวผู้ จะเป็นช้างสีดอ หรือไม่งา แต่มีขนาย ซึ่งเป็น งาขนาดเล็ก โตประมาณเท่าข้อมือ (เส้นรอบวงประมาณ 15 - 20 เซนติเมตร) ช้างเอเซียพันธ์ ศรีลังกาตัวผู้หรือช้างพลาย ที่มีงามีน้อยมาก ส่วนตัวเมียเหมือนช้างเอเซียพันธุ์อื่นๆ คือไม่มีงาแต่มีขนายเท่านั้น
1.2 ช้างอินเดีย (Elephant maximus maximus imdicus ) ขนาดตัวจะเล็กกว่าชนิดแรก สีตามจุดต่าง ๆ จางกว่า เป็นช้างที่มีอยู่ในป่าตามธรรมชาติ บนผืนแผ่นดินใหญ่ของ
ทวีปเอเซีย ได้แก่ เนปาล ภูฐาน อินเดีย พม่า ไทย ลาว เวียดนาม
กัมพูชา แคว้นยูนานประเทศจีนและมาเลเซียสำหรับ
ประเทศไทยนั้น มีช้างเอเซียพันอินเดียกระจัดกระจายอยู่ ในป่าตามธรรมชาติทั่วทุกภาคของประเทศ
1.3 ช้างสุมิตรา (Elephant maximus sumatranus) มีขนาดตัวเล็กที่สุดพบในมาเลเซีย สุมาตรา

2. ช้างแอฟริกา มี 2 ชนิดย่อย(FOREST ELEPHANT or LOXODONTA)
       2.1 ช้างป่าแอฟริกา (Forest Elephant, or Loxodonta africana cyclotic)
      2.2
ช้างทุ่งแอฟริกา (Savanah Elephant, or Loxodonta africana africana)

ลักษณะที่แตกต่างกันของช้างและช้างแอฟริกา
ลักษณะที่แตกต่าง
ช้างเอเซีย
ช้างแอฟริกา
1.ถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ มีเฉพาะในทววีปเอเซียตอนใต้และหมู่เกาะที่อยู่ใกล้เคียง เช่น อินเดีย เนปาล พม่า ไทย ลาว เขมร จีนตอนใต้

มีเฉพาะทวีฟแอฟริกาตอนใต้ของทะเลทรายซาอา
ราเท่านั้น เคนย่า ทันซาเนีย อูกัดา แซร์ เป็นต้น

2. ภูมิศาสตร์ ปกติชอบอยู่อาศัยในป่าดงดิบ ทึบ มีอากาศร่มเย็น ไม่ชอบอากาศร้อนจัด

ถิ่นกำเนิดอาศัยส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย อากาศร้อน ในเวลากลางวัน และหนางในเวลากลางคืนจึงมีความทนทานต่ออากาศร้อนและแห้งแล้งได้ดี

3. ลักษณะและขนาด
     3.1 ลักษณะรูปร่าง
      3.2 ขนาดความสูง

รูปร่างอ้วนป้อม เพศผู้ เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดความสูงสุด 3.2 เมตร (เฉลี่ย 2.4 -2.9 เมตร)
เพศเมีย เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดความสูงสุด2.7 เมตร (เฉลี่ย 2.1-2.4 เมตร)
ตัวผู้เฉลี่ย 3,500 - 4,500 กก.
ตัวเมียเฉลี่ย 2,300- 3,700 กก.

รูปร่างสูงใหญ่ปและปราดเปรียวกว่าเอเซีย
เพศผู้ เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดความสูงสุด3.6เมตร (เฉลี่ย2.7 - 3.2 เมตร)
เพศเมีย เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดความสูงสุด 2.3 - 2.7 เมตร)
ตัวผู้เฉลี่ย 4,000 - 5,000 กก.
ตัวเมียเฉลี่ย 2,300- 3,700 กก.
4. เท้า
       4.1 เล็บเท้าหน้า
       4.2 เล็บเท้าหลัง

จำนวนข้างละ 5 เล็บ
จำนวนข้างละ 4 เล็บ (อาจมีบางตัว 5 เล็บ)

จำนวนข้างละ 4เล็บ
จำนวนข้างละ 3 เล็บ
5. จะงอยปลายงวง ปลายงวงจะมีงอยเดียว ปลายงวงมี 2 จะงอย
6. หลัง มีลักษณะโค้งงอเหมือนหลังกุ้ง มีลักษณะหลังแอ่น
7. หัว หัวกว้างมี 2 ลอน หัวแหลมเล็ก มีลอนเดียว
8. หู ใบหูมีขนาดเล็กกว่า และขอบบนใบหูอยู่ต่ำกว่าหัว ใบหูมีขนาดใหญ่กว่าขอบบนใบหูอยู่เหนือหัว
9.จุดสูงสุดของร่างกาย อยู่ที่บริเวณหลัง อยู่ที่ไหล่
10. งา
       10.1 เพศที่มีงา
        10.2 ขนาดความยาวของงา
มีงาเฉพาะตัวผู้ตัวเมียไม่มีงา ตัวผู้บางตัวมีขนาดงาเล้ ๆ เรียกว่า ขนาย งาจะสั้น
กว่าช้างแอฟริกาเฉลี่ยความยาวของงา 120 - 160 ซม.
มีงาทั้งเพศผู้และเพศเมีย
ความยาวเฉลี่ย 200 - 250 ซม. (2.00 - 2.50 ม.)
11. ฟันกราม
       11.1 จำนวนสันร่อง
       11.2 ลักษณะรูปร่างลวดลาย
             สันร่องฟันกราม
สันร่อง (Ridges)ของฟันกรามในช้างเอเซีย (แก่ อายุมาก ) มีจำนวนมากที่สุดไม่เกิน 27 สันร่อง สันร่องฟันกรามมีลักษณะรูปร่างลวดลายเป็ววงยาวรีเรียงกัน
สันร่อง (Ridges)ของฟันกรามในช้าแอฟริกา (แก่ อายุมาก ) มี จำนวนมากสุด 14 สันร่อง
12. กระดูกซีโครง มีจำนวน 19 คู่ มีจำนวน 21 คู่
13. ข้อกระดูกหาง มีจำนวน 33 ข้อ มีจำนวน 26 ข้อ

ธรรมชาติของช้าง

     ช้างทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นช้างพันธุ์เอเซียหรือพันธุ์แอฟริกามีความเป็นอยู่เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่งคืออยู่เป็นฝูงช้างฝูงหนึ่งมักประกอบด้วยช้าง๕-๑๐เชือกแต่ละฝูงจะมีช้างพลายตัวหนึ่งเป็นหัวหน้าฝูงซึ่งมักจะเป็นตัวที่แข็งแรงที่สุดของฝูงมีหน้าที่คอยเป็นผู้ปกปักรักษาและป้องกันอันตรายให้แก่ช้างในฝูงของตนและเป็นผู้นำฝูงไปหาอาหารในแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ช้างป่าที่หากินอยู่ตัวเดียวถ้าไม่ใช่ช้างแก่ซึ่งเดินตามเพื่อนฝูงไม่ทันก็มักเป็นช้างเกเรที่ถูกขับออกจากฝูงเรียกว่า "ช้างโทน"ช้างโทนนี้มีนิสัยดุร้ายซึ่งเป็นอันตรายแก่ผู้พบเห็นได้ช้างไทยหรือช้างเอเซียมีนิสัยชอบอากาศเย็นและไม่ชอบแสดงจัด


นิสัยช้าง
          ช้างเอเซียหรือช้างไทยโดยทั่วไปเมื่อได้นำมาฝึกให้เชื่องเพื่อใช้งานได้แล้วจะนิสัยฉลาดสุภาพและรักเจ้าของเว้นแต่ในบางขณะเช่นในเวลาตกมันซึ่งเป็นเพียงในชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้นในเวลาตกมันช้างจะมีนิสัยดุร้าย จะทำรายช้างด้วยกันหรือทำร้ายเจ้าของตลอดจนสิ่งของที่อยู่ใกล้ๆเมื่อพ้นระยะตกมันแล้วนิสัยดุร้ายก็จะหายไปเอง

การกินการนอน
การหลับนอนโดยปกติของช้างมีระยะเวลาสั้นเพียง3ชั่วโมงเวลานอนของมันอยู่ในเวลา23.00น.ของวันรุ่งขึ้นลักษณะการนอนของช้างเมื่อหลับสนิทจะนอนตะแคงลำตัวข้างใดข้างหนึ่งลงกับพิ้นช้างมีอาการหาวนอนและนอนกรนเช่นเดียวกับมนุษย์ถ้าหากพบช้างนอนหลับในเวลากลางวันก็ควรสันนิษฐานไว้ก่อนว่าช้างมีเวลาน้อยนั่นเองมันจึงใช้เวลาที่เหลืออยู่ในกากินและเดินท่องเที่ยวไปในป่าเวลาเดินไปก็กินหญ้าไปตลอดทาง กล่าวกันว่าช้างเชือกหนึ่งจะกินอาหารและหญ้าคิดเป็นน้ำหนักราว 250 กิโลกรัม 1 วัน

การตกลูก
          ช้างพังหรือช้างตัวเมียทีสมบูรณ์จะมีลูกได้เมื่อมีอายุระหว่าง 15 - 50 ปีและจะตั้งท้องของช้างมีระยะเวลา ระหว่าง 21 -22 เดือน

การฝึกลูกช้าง
ุ          ลูกช้างที่สมบูรณ์ เมื่ออายุราว 4 - 5 ขวบ ก็จะมีร่างงกายใหญ่โตพอที่จะฝึกให้ทำงานได้

กำลังงานของช้าง
          ช้างเริ่มทำงานได้เต็มที่เมื่ออายุราว 25 ปี เมื่อถึงอายุราว 50 ปี กำลังจะถอยลงและจะทำงานเบา ลากไม้เล็กหรือขนของ
ต่อไปได้จนอายุประมาณ 60 ปี

การตกมัน
          โดยปรกติช้างที่มีร่างกายสมบูรณ์และมีอายุอยู่เกณฑ์ผสมพันธุ์ สามารถตกมันได้ ไม่ว่าจะเป็นตัวผู้หรือตัวเมีย มีอายุราว 20-50ปี ลักษณะการตกมันจะมีกำลังที่สุดและกำลังมีความต้องการของเพศอย่างเต็มที่โดยต่อมที่ขมับทั้ง2ข้างจะบวมเท่าไข่ไก่จนเห็นได้ชัดเมื่อต่อมที่ขมับบวมขึ้นแล้วรูของต่อมซึ่งมีขนาดโตราว 1/2เซนติเมตรก็จะเปิดกว้างออกมีน้ำเมือกสีขาวขันไหลออกมาเราเรียกว่า"ตกมัน"จะส่งกลิ่นเหม็นสาบรุนแรงมากนอกจากต่อมที่ขมับและน้ำมันที่ไหลออกมาแล้ว ถ้าเป็นช้างเพศผู้อวัยวะสืบพันธุ์ของมันจะแข็งมีน้ำปัสสาวะไหลออกมาอย่างกะปริกระปรอยหรืออาจจะมีอสุจิไหลออกมาเป็นบางครั้งบางคราวด้วยจะมีลักษณะดุร้ายจะทำร้ายสิ่งที่ขวางหน้าทุกสิ่งทุกอย่างนอกจากนี้ความจำเสื่อม มันจะทำร้ายควาญช้างหรือเจ้าของมันเองด้วยอาการจะเกิดกับช้างพังหรือช้างตัวเมียจะมีความรุนแรงหรือแสดงอาการดุร้ายน้อยกว่าเพศผู้อาการตกมันจอยู่ราว 2 - 3อาทิตย์ จะค่อย ๆทุเลาลง

ลักษณะของช้างที่ดี
          จะต้องมีรูปร่างใหญ่โตแข็งแรงศีรษะโตแก้มใหญ่แก้มเต็มหน้าผาหว้างมีดวงตาแจ่มใสมีขาแข็งแรงเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อลักษณะของหลังสูงตรงกลางเล็กน้อยลาดไปทางหางอย่างสม่ำเสมอลักษณะของหลังเช่นนี้เรียกว่า"แป้ก้านกล้วย" ถือว่าเป็นลักษณะของช้างที่ดีที่สุดเวลายืนศีรษะจะเชิดขึ้นมองดูสง่าถ้าเป็นช้างงาต้องมีงาใหญ่แข็งแรงและยื่นขนานคู่กันออกมาไม่บิดและห่างจากกันมากเกินไปลักษระของชายใบหูควรเรียบไม่ฉีกขาดการสังเกตดูอายุช้างอาจทำได้โดยวิธีง่าย ๆคือสังเกตุจากขอบหูถ้าขอบหูด้านยบนม้วนกลมราว1นิ้วฟุตก็แสดงว่าช้างนั้นมีอายุราว25ปีถ้าขอบหูใหญ่ขึ้นและปลายขอบไม่ม้วนกลมก็แสดงว่าช้างอายุมาก สำหรับปลายหูส่วนที่อ่อนห้อยลงมานั้นก็อาจใช้เป็นเครื่องสังเกตได้ คือ ช้างอายุมาก

ช้างเผือก
คำว่าช้างเผือกเป็นคำสามัญที่คนทั่วไปเรียกช้างซึ่งมีผิวหนังเป็นสีชมพูแกมเทาอันเป็นสสีที่ผิดแปลกไปจากสีของผิวหนังช้างธรรมดา(ปกติเป็นสีเทาแกมดำ) โดยไม่คำนึงถึงลักษณะอื่นๆประกอบฉะนั้นคำว่าช้างเผือกตามความหมายที่เราเข้าใจกันจึงจะเป็นช้างซึ่งมีมงคลลักษณะครบหรือไม่ครบก็ได้เพื่อมิให้เกิดความสับสนในเรื่องนี้ ทางราชการจึงได้กำหนดศัพท์ใช้เรียกชื่อช้างซึ่งมีลักษณะพิเศษขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัติรักษาช้างป่าพุทธศักราช2465(ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 38 หน้า 75 วันที่ 26 มิถุนายน 2464 ) มาตรา 4 โดยระบุว่า "ช้างสำคัญ" ให้พึงเข้าใจว่าช้างที่มีมงคลลักษณะ 7 ประการคือตาขาว เพดานขาว เล็บขาว ขนขาว พื้นหนังขาว (หรือสีคล้ายหม้อใหม่) ขนหางยาว อัณฑะโกศขาว (หรือสีคล้ายหม้อใหม่)

                          ลักษณะสำคัญของช้างเผือก

           เป็นช้างพลายรูปงาม                      ขนหางสีน้ำผึ้งเจือแดงแก่
           งาขาว- ซ้ายเรียวงาม                      ตาขาวเจือเหลือง
           กาย สีดอกบัวแดง                           เพดานปากขาวเจือชมพู
           ขนตัว ขุมละสองเส้น                       อัณฑะโกศขาวเจือชมพู
           ขนโขมด สีน้ำผึ้งโปร่ง                     เล็บขาวเจือเหลืองอ่อน
           ขนบันทัด/หลัง/สีน้ำผึ้งโปร่งเจือแดง  หูและหางงามพร้อม
           ขนหูขาว                                         เสียงเป็นศัพท์แตรงอน

โรคของช้าง
แม้ว่าช้างจะมีรูปร่างใหญ่โตแต่ก็อาจเป็นโรคได้เช่นเดียวกับสัตว์อื่นช้างที่ถูกกังขังมีโอกาสติดโรคจากสัตว์เลี้ยงได้ง่ายส่วนช้างที่ทำงานในป่ามักเกิดเป็นฝีและโรคผิวหนังพุพองกันมาก ฝีอาจเกิดจากการถูกหนามทิ่มตำผิวหนังเกิดเป็นหนองบวมพองขึ้นมาผิวหนังที่พุพองเป็นตุ่มนั้นส่วนใหญ่เกิดจากแมลงวันป่าชนิดหนึ่งมาไข่ไว้ตามรูขนของช้าง เมือ่ไข่แมลงวันกลายเป็นตัวอ่อนตัวอ่อนก็จะเข้าไปอาศัยในชุมชนแล้วดูดเลือดช้างกินเป็นอาหารช้างที่เป็นโรคนี้จะสังเกตได้ง่ายจากผิวกนังเป็นตุ่มหนอง เมื่อเกาะตุ่มออกจะพบตัวหนอนกลมๆขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียวฝังตัวอยู่เมื่อตัวหนอนแก่จะกลายเป็นแมลงวันป่ามารบกวนช้างอีกแล้วทิ้งคราบไว้ในรูปขนที่มันเคยอาศัยอยู่ทำให้ผิวหนังเกิดอักเสบเป็นตุ่มมีหนอง วิธีป้องกันโรคนี้ที่ดีที่สุดคือช้างได้อาบน้ำบ่อยๆและชาวบ้านได้ใช้เครือสะบ้าเป็นฝอยถุตามตัวช้างเวลาอาบน้ำเพื่อฆา่ตัวอ่อนของแมลงวันนี้ นับว่าได้ดีพอสมควรโรคที่ช้างเป็กันมากอีกชนิดหนึ่งคือโรคพญาธิฟิลาเรีย(Filaria)โรคนี้เกิดจากยุงในป่าซึ่งไปกัดสัตว์ที่เป็นโรคนี้มาแล้วมากัดช้างพญาธิที่ติดมากับแมลงก็จะเข้าไปในเส้นโลหิตและเจริญเติบโตและเจริญเติบโตในเส้นโลหิตของช้าง แล้วเข้าไปอุดตันในหัวใจจนทำให้ช้างถึงแก่ความ