วัฒนธรรม คือ สิ่งบ่งบอกความเจริญ เป็นพยานยืนยันความเป็นอารยะของชาติพันธุ์นั้นๆ มา แต่อดีตวัฒนธรรมเป็นผลผลิตของมนุษย์ชาติหลังจากที่เขาได้กลั่นกรองมันมาด้วยกระบวนการ ทางสังคมระยะหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ ชนชาติใดสามารถสืบค้นหาอดีตของตนหยั่งลึกลงไปได้ มาก เพียงใดไกลออกไปเพียงใด ก็ยิ่งแสดงให้เห็นอายุกาลของการสั่งสมระยะเวลาของ การอบร่ำทาง วัฒนธรรมของตนเพื่อประกาศความเป็นชนชาติอารยะได้มากเพียงนั้น
วัฒนธรรมสุรินทร์
1.
วัฒนธรรมสายกูย
2.วัฒนธรรมสายเจนละ
3.วัฒนธรรมสายลาว
1.วัฒนธรรมสายกูย(ส่วย)
ชนชาติกูย
เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ ณ บริเวณแนวเขาพนมดงรักประมาณ 3,000 ปี
ก่อนพุทธศักราช ( Bastin and Benda 1968 :2) และอีกครั้งหนึ่งเมื่อประมาณ ปลายพุทธศตวรรษที่
19 ชาวกูย ที่แคว้น อัสสัมถูกรุกรานทางวัฒนธรรม และ บูรณภาพโดยชนเผ่าอนารยะ จนบางส่วนต้องละทิ้งถิ่นฐานอพยพ
ลงมาตาม ลำน้ำโขง ประวัติศาสตร์อินเดียระบุสาเหตุสำคัญของการ ละทิ้งถิ่นฐานของชนชาติ
นี้ว่า ได้แก่การแย่งชิงความเป็นใหญ่ของมหาราชแคว้นต่างๆ ในอินเดียเฉพาะ อย่างยิ่ง
การล่มสลายของราชวงศ์คุปตะที่มีสัมพันธ์ไมตรีอย่างแนบแน่น กับ กูย มาตลอด
กูย
ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามแนวเขาพนมดงรักและตลอดแนวลุ่มแม่น้ำโขง คือ
ชนชาติผู้มีส่วนอย่างสำคัญในการสร้างความเจริญรุ่งเรืองแก่ดินแดนส่วนนี้ของโลก
โปรดสังเกตขนาดก้อนหินแลงและหินทรายวัสดุหลักในการก่อสร้าง เทวาลัย หรือ ศาสนสถานต่างๆ
ล้วนมีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 500 กิโลกรัม/ก้อน ขึ้น ไป ต้อง ขนย้ายจากบ่อแลงหรือทรายด้วยระยะทางไกล
เป็นเรื่องสุดวิสัย ที่จะใช้แรงมนุษย์ ชักลากหรือถ้าใช้ก็ต้องเกณฑ์แรงงานจำนวนมหาศาล
จะเห็นได้ว่า พาหนะหลัก
ในการขนย้าย ชักลากก็คือ ช้างซี่งมีกูยเป็นควาญ นั่นเอง จึงไม่แปลกแต่อย่างใดที่ได้พบเห็นชุมชนกูยปะปนอยู่แทบทุกย่าน
โบราณสถาน พงศาวดารเมืองละแวกบันทึกไว้ว่า ในพุทธศตวรรษที่ 20กษัตริย์เขมรแห่งนครธม
ได้ขอให้แจ้ากูยแห่งตะบองขะมุม
( ชุมชนกุยด้านใต้นครจำปาศักดิ์ )ส่งกำลังไปปราบกบถที่นครธมทั้งสองเมือง
ได้ร่วมกันขับไล่ศัตรูจนบ้านเมืองเขมรเข้าสู่ภาวะปรกติสุข
(
กรมศิลปกร,2500 : 19-20 )
หลักฐานนี้แสดงว่า ขณะที่ชนชาติไทยสายสยาม กำลังทำสงครามขับเคี่ยว กับเขมรเพื่อสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย
นั้น ชาวกูยได้ตั้งถิ่นฐาน ณ บริเวณ ลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างอย่างเป็นปึกแผ่นแล้ว
พงศาวดารจำปาศักดิ์และประวัติศาสตร์เมืองสุรินทร์กล่าวได้สอดคล้องกันว่า ในต้นพุทธศตวรรษที่
23 ชาวกูยจำนวนมากได้อพยพ จากบริเวณเมืองอัดปือ แสนแป แขวงจำปาศักดิ์ ข้ามลำน้ำโขงมายังฝั่งตะวันตก
เหตุผลของการอพยพครั้งสำคัญนี้ ยืนยัน โดย Bastin and
Benda ว่า เพื่อหนีการบีบคั้นทางใจและแสวงหา ดินแดนแห่งความเป็นไท หนีความถูกข่มเหง
การบังคับขู่เข็ญให้ทำการ จัดหาช้างศึกให้จำปาศักดิ์ มุ่งหน้ามาทาง ตะวันตกโดยมีเป้าหมายคือ
แหล่งอุดมสมบูรณ์ปลอดภัย จากภัยจากมนุษย์ด้วยกัน บริเวรแนวเขาพนมดงรัก บรรพบุรุษชาวสุรินทร์สายนี้
คือ ผู้นำวัฒนธรรมที่นับเนื่องกับช้างเข้าสู่บริเวณลุ่มแม่น้ำมูลตอน กลาง วัฒนธรรมการเลี้ยงช้างเน้นคุณธรรม
ว่าด้วยการมีสัมมาคารวะ การยึดมั่นอยู่ กับข้อตกลงร่วมกัน การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมสำส่อนทางเพศ
ตลอดจน ความเมตตา สงสารสัตว์เลี้ยง วัฒนธรรมการเลี้ยงช้าง
ถึงจะดูเต็มไปด้วยบทบัญญัติหรือข้อห้าม
แต่ก็เป็นที่ตั้งที่สำคัญอย่างยิ่งคือ เป็นข้อห้ามเพื่อชีวิตและความอยู่รอด
จึงไม่มีใครปฎิเสธ หรือ ไม่เห็นคุณค่าวัฒนธรรมการเลี้ยงช้าง อบรมให้ คนสุรินทร์เป็นคนซื่อสัตย์
เสียสละ รักเพื่อน รักธรรมชาติ ไม่ฟุ้งเฟ้อ เห่อเหิม จนเกินตัว สุรินทร์ไม่ได้มีเฉพาะชาวกูยเลี้ยงช้างเท่านั้น
ในจำนวนประชากร ชาวกูยด้วยกัน ชาวกูยเลี้ยงช้างมีสัดส่วนไม่ถึง ร้อยละ 10 นอกนั้น
เป็นชาวกูยทำนา ทำสวน สตรีชาวกูยแทบจะ ไม่มีบทบาทในวัฒนธรรม
การเลี้ยงช้างเลย ส่วนใหญ่จะมีทักษะอย่างสูงในการทอผ้าไหม เชื่อกันว่า สตรีชาวกูยสุรินทร์
มีความสามารถ ทางด้านงานมัดหมี่อย่างหาตัวจับยากทีเดียว ชาย หรือเชิงผ้าซิ่นมัดหมี่อัมปรมที่ขึ้นชื่อของชาวเขมรสุรินทร์นั้นเป็น
เพียงหนึ่ง ในหลายลายของผ้ามัดหมี่ชาวกูยเท่านั้นเอง แต่เพราะ
วัฒนธรรมการครองชีวิตการดำรงตนในสังคมกูยที่คลุกและแปดเปื้อน
อยู่กับดิน ทำให้สตรีกูยสุรินทร์ ไม่นิยมแต่งตัวด้วยอาภรณ์และ เครื่องประดับ
อันมีค่า จากการสำรวจล่าสุดคือในปี พ.ศ. 2536 ของศูนย์วัฒนธรรม จังหวัด สุรินทร์
ได้พบชุมชนกูยในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์แล้วกว่า 400 แห่ง
หรือ
หมู่บ้านการสำรวจนี้ยังไม่สิ้นสุด คาดว่าสุรินทร์คือดินแดนที่ ชนชาวกูย เป็นชาติพันธุ์
ที่เก่าแก่ที่สุดของโลกชาติพันธุ์หนึ่งสุรินทร์ ก็จะเป็นดินแดนที่ ชนชาติพันธุ์นี้พำนักอยู่มากที่สุดในโลก
3. วัฒนธรรมสายลาว
จริงๆแล้วความผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมสายกูยกับ
ลาวนั้นเป็นการยากที่จะแยกจากกันอย่างเด็ดขาด ทั้งนี้
เพราะชนสองชาตินี้ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ร่วมกับที่จำปาศักดิ์
เป็นเวลากว่า 400 ปี ความคลุกเคล้าทางวัฒนธรรมดังกล่าว
เห็นได้ชัดที่สุด แม้แต่ในประเพณีพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์
ขณะออกโพนช้าง พิธีเบิกไพร พิธีประสะเป็นต้น
ภาษาที่ชาวกูยใช้จะคละเคล้าอยู่ระหว่างภาษาผีกับภาษาลาว
ข้อเท็จจริงอันหนึ่งก็คือ ภาษาอักษรขอมและอักษรไทยน้อย
นอกจากจะมีรูปลักษณ์คล้ายคลึงกันแล้วยังมีที่มาแห่งเดียว
กันด้วย ถึงจะไม่มีหลักฐานพิสูจน์ แต่ก็เชื่อได้อย่างไม่ตขิด
ตะขวงใจว่า อักษรทั้งสองพัฒนามาจาก อักษรเทวนาศรี
แน่นอนอักษรเทวนาศรีคืออักขระที่จารึกภาษาสันสกฤต
ที่มีให้เห็นตามแหล่งโบราณสถานต่างๆ ต่อคำถามว่า
เพราะเหตุใดอักษรไทยน้อย (ต้นแบบอักษรลาวปัจจุบัน)
กับอักษรขอมจึงละม้ายคล้ายคลึงกันจนผู้ที่อ่านอักษรกลุ่ม
หนึ่งออก็สามารถอ่านอีกกลุ่มหนึ่งออกบทวิเคราะห์เชิงคำตอบ
ที่น่ารับฟังก็คือ ภาษาของสันสฤกตและบาลีจะแพร่หลายเข้ามา
ภายหลัง หลักฐานสายจีนบันทึกโดยม่าตั่วหลินเมื่อประมาณ
พุทธศตวรรษที่ 9 ก็ระบุสอดคล้องกันว่า ภาษาและอักษร
สันสฤกตมีใช้เฉพาะในหมู่ชนชั้นปกครอง ประชาชนทั่วไป
คงใช้ภาษาและอักษรท้องถิ่น แสดงว่าขอมและลาวคือฐาน
รองรับวัฒนธรรมจากอินเดียทั้งสองเผ่าพงศ์คงมีศักยภาพ
ทางอำนาจเท่าเทียมกัน เมื่อ
2. วัฒนธรรมสายเจนละ (เขมร)
ก่อนที่จะเป็นที่รู้จักกันในนามอาณาจักรเจนละ
บริเวณส่วนนี้ ของโลกเป็นที่อยู่ ของชนชาติจามข่าระแดข่าจรวย ( เป็นชาติพันธุ์กูยส่วนหนึ่ง
) มาก่อน จากการ สัมภาษณ์กลุ่มชนที่ชาวข่าที่ นครพยม มุกดาหาร
และแม้แต่ชาวบ้านที่ จังหวัด ชัยภูมิ ตัวแทนกลุ่มชนเหล่านี้จะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า
เขาคือส่วย ( กูย ) นั่นเองส่วนชาวบนที่จังหวัดชัยภูมินั้นไม่รู้ตัว ด้วยซ้ำว่าชาวโลกเรียกเขาว่าชาวบน
แต่การศึกษาเปรียบเทียบ ด้านภาษา ขนบประเพณีและแม้แต่วัฒนธรรมการแต่งตัว
ส่วนใหญ่จะเหมือนกับ ชาวกูยสุรินทร์ กลุ่มชนเหล่านี้อาศัยอยู่ ที่นี้มาเป็น เวลานานก่อน
จะเกิดระบบปฎิรูปวิถีชีวิตเป็นระบบเมือง การจัดตั้งอาณาจักรฟูนัน ขึ้นที่บริเวณปากนกแก้วเมื่อพุทธศตวรรษที่
8 ไม่ใช่การอพยพเข้ามา ครอบครองของชนต่างชาติ แต่เป็นจังหวะ ที่ชาวอินเดียซึ่งเข้ามาทำมาหากิน
และตั้งถิ่นฐานอยู่ตามชายฝั่งทะเล ก่อนพุทธศักราชด้วยซ้ำไม่มีโอกาส เข้านอกออกในในตระกูล
ชนชั้นปกครอง จนได้แต่งงานกับธิดาเจ้าผู้ปกครอง ได้รับการ สถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์
ชาวอินเดียเหล่านี้คือชนชาติอารยะ อพยพ มาจากดินแดน ที่เจริญพร้อมทางด้านศิลปวัฒนะรรม
การศาสนา การปกครอง และอื่นๆ เมื่อมีโอกาสแสดงออก จึงนำเอาสิ่งที่เป็นวิถีชีวิตของชาวอินเดีย
มาใช้กับประชาชน ชาวกูยและชาวจามในพื้นที่ และก็ประสบความสำเร็จด้วยดี
ประสบความสำเร็จจนถึงขึ้นสถาปนาอาณาจักรฟูนันขึ้น ภายใต้ระบบฮินดูพราหมณ์ อาณาจักรฟูนันก็คือประเทศข่า
( กูย ) ที่มีพราหมณ์เป็นกษัตริย์ มีศาสนา
ฮินดูพราหมณ ์เป็นตัวจารีต ประเพณีและรัฐประศาสนศาสตร์ หลักฐาน สายจีน บันทึกการ
เดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายกับอาณาจักรฟูนัน เมื่อพุทธศตวรรษที่ 9
ระบุว่า ชาวฟูนันใช้ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาราการและภาษาเขียน ส่วนภาษา ที่ใช้กับชีวิตประจำวันทั่วไปคงเป็นภาษาถิ่น
ในพุทธศตวรรษที่ 11ฟูนัน ก็ตกเป็นเมืองขึ้นของแคว้นเหนือ หมายถึง แคว้นที่มีอาณาเขตอยู่ทาง
ด้าน เหนือ ของฟูนัน หลักฐานทาง ตะวันตกหมายถึงอาณาจักร ใหม่นี้ว่า เจนละ
เจนละ
เป็นชนล่าสัตว์และเกษตรเลื่อนลอย ยังไม่มีระบบเมืองชุมชนขนาดใหญ่ การยก กำลังเข้าครอบครองดินแดนบางส่วนของฟูนันในระยะแรกจึงเป็น
การปล้นสะสดมภ์ กวาดต้อนทรัพย์สินและสัตว์เลี้ยงมากกว่าจะหวัง ครอบครอง ดินแดน
ชัยชนะที่เหนือฟูนันมาตลอดทำให้อาณาเขต เจนละขยายออก ไปตามลำดับ ในที่สุดก็เข้าครอบครองโดยเด็ดขาด
ในพุทธศตวรรษที่ 11 และ นั่นหมายความว่า นับแต่พุทธศตวรรษ ที่ 11 เป็นต้นมา ศิลปวัฒนธรรม
และความเจริญด้านอื่นๆก็เริ่มแพร่ หลายขึ้นมายังบริเวณ สันเขาพนมดงรัก ด้านเหนือ
ศิลปะสมัยพนมคา อาจไม่มีให้เห็น ณ บริเวณลุ่มแม่น้ำมูล เพราะ เป็นศิลปะที่คล่อมอยู่
ระหว่างสมัยฟูนันตอนปลาย และเจนละตอนแรก แต่ศิลปะรูปทรง สมส่วนกระเดียดไปทางขอม
หรือก็มีฐานไม่ใหญ่นัก ยอดแหลมอัน
เป็นเอกลักษณ์ของศิลปะสมบอร์ไพรกุกจะเริ่มมีให้เห็น ในเขต จังหวัดสุรินทร์ เชื่อว่าต้องมีมากกว่าหนึ่งแห่งนอกเหนือไปจาก
ปราสาทภูมิโปรน นักรบเจนละไม่ได้นำศิลปะสมบอร์ไพรกุก
ไพรกะเม็ง กำปงเพรียะ ขึ้นมาสู่สันเขาพนมดงรักโดยวิธีจดจำหรือลอกเลียน แต่จะ
เชิญช่างหรือ พราหมณ์ ขึ้นมาด้วย ในอดีต การที่ช่างหรือพราหมณ์คน ใดคนหนึ่งหรือคณะใด
คณะหนึ่งอพยพจากเมืองหนึ่งไปยังอีกเมืองหนึ่ง ไม่ว่าจะโดยสมัครใจ หรือถูกกวาดต้อน
หมายถึง การออกเดินทางที่ไม่มี โอกาสย้อนกลับ การอพยพ หรือกวาดต้อนช่างฝีมือหรือพราหมณ์
ผู้ขมังเวท ขึ้นมาสร้างปราสาทหรือเทวาลัย
ณ บริเวณลุ่มแม่น้ำมูล จึงถือเป็นการอพยพทางวัฒนธรรมอย่างเบ็ดเสร็จ อาจกล่าวได้ว่า
การเข้ามาของศิลปะสมัยสมบอร์ ไพรกุก ไพรกะเม็ง กำปงเพรียะ
คือการไหลลงสู่ที่ ราบลุ่มแม่น้ำมูลครั้งแรกของศิลปะเจนละ เหตุการณนี้ เกิดขี้นระหว่างพุทธศตวรรษที่
11-14 ระหว่าง พุทธศตวรรษที่ 15-18 เป็นช่วงศิลปะวัฒนธรรมเปลี่ยนทิศทาง สถาปัตยกรรมบริเวณจังหวัดสุรินทร์
และข้างเคียงที่เชื่อว่า , ส่วนใหญ่รับมาจากสันเขาพนมดงรัก ด้านล่างเริ่มมองเห็น
อาการหมุนหรือถ่ายเทกลับกัน เนื่องจากศิลปะสมัยปาปวน และบายน ที่ได้รับการ กำหนดอายุอยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษ
ดังกล่าว เริ่มมีพุทธศิลปะเข้ามาปะปน หลักฐานระบุชัดเจนว่า ศิลปวัฒนธรรมสายพุทธที่เข้าสู่บริเวณ
ส่วนนี้ของโลกในช่วง
เวลาดังกล่าว เป็นพุทธฝ่ายเหนือหรือฝ่ายมหายานซึ่งการ แพร่หลายลงมาตาม ลำน้ำโขง
ด้วยเหตุนี้จึงไม่แปลกแต่ ประการใดที่ปราญ ์บางท่านกล่าวว่า สถาปัตยกรรมหลาย
ส่วนตามที่ปรากฎอยู่ ณ ที่ราบลุ่มแอ่งทะเลสาบเขมร
ปัจจุบัน รับเอาต้นแบบไปจากด้านเหนือสันเขาพนมดงรัก
ศิลปะสมัยเจนละหมายถึงสถาปัตยกรรม ศิลปกรรมและ
ประติมากรรมสมบอร์ ไพรกุก ไพรกะเม็ง กำปงเพรียะ อย่างเข้าพุทธศตวรรษที่ 15 มีการเปลี่ยนแปลง
ครั้งสำคัญ ทางคตินิยมปราสาทหลายแห่งอัญเชิญเทวราชาศิวลึงก์
หรือประติมาพระเป็นเจ้าอื่นๆ สถิตเคียงข้างประติมา พระวัชรสัตว์หรือโคนันทิ เป็นการผสมผสานครั้งสำคัญ
ระหว่างลัทธิหรือศาสนาฮินดูพราหมณ์กับพุทธศาสนา
ลัทธิฝ่ายเหนือ มีเรื่องเล่าว่า สาเหตุมาจากมเหสีของ พระเจ้าชัยวรมันที่ 5 นับถือพุทธศาสนา
หลักฐานทางตะวันตกระบุว่า พุทธศตวรรษที่ 15
เป็นต้นมาเป็นช่วง ที่เจนละย่างเข้าสู่ความเป็นอารยะ(ตามการยอมรับของตะวันตก)
อย่างแท้จริง หมายความว่าเป็นช่วงเวลาที่บรรดาขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ที่แต่ก่อนสักแต่เพียงเป็นแบบธรรมเนียม
ที่ถือปฎิบัติกันสืบๆมาได้รับการกำหนด ด้วยพระบรมราช
โองการให้เป็น พระราชนิยม ที่จะต้องยึดและปฎิบัต
ิให้ถูกต้อง ช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-16-17-18 เรียก
ตามหลักฐานทางฝรั่งเศสว่า ศิลปะสมัยนครวัต เป็นช่วง
ที่ระบบ โอรสสวรรค์ ได้รับการเทิดทูลอย่างสูงส่ง
โอรสสวรรค์ เป็นเรื่องของการสถาปนาความเชื่อว่าด้วย
นารายณาวดารหรือกฤษณาวดารหรือศิวาวดาร เชื่อกันว่า
หลังจากได้รับการถวายพระนามาภิไธยครั้งที่สอง ( ทวีธาภิเษก )
แล้วพระมหากษัตริย์จะได้รับอำนาจจากพระเป็นเจ้า ให้ถือว่า
ดำรัสของพระมหากษัตริย์เป็นเทวโองการที่ทุกฝ่ายต้องเคารพและ
ปฎิบัติตามที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือ กษัตริย์ต้องมีโอรสไว้สืบราช
สันติวงศ์ เป็นหน้าที่หลักอันหนึ่งที่กษัตริย์ต้องแสวงหาโอรส
ไว้สีบสายพระราชวงศ์โอรสคือการอันประเสริฐที่พระเป็นเจ้า
ประทานแก่กษัตริย์โอรสคือพระผู้อวตารเพื่อลงมารับเทพภาระ
ในการช่วยเหลือชาวโลก ระบบโอรสสวรรค์ทำให้กษัตริย์หนึ่ง
พระองค์มีโอรสทั้งที่เกิดจากมเหสีเอก มเหสีรอง และพระสนม
เป็นจำนวนมาก โอรสเหล่านี้ล้วนแต่ผู้มีศักดิ์เป็นราชนิกุล เป็น
ทายาทแห่งสวรรค์เฉพาะผู้เป็นพระโอรสเหล่านี้เท่านั้นที่ได้รับ
การขนานนามว่า กุมาร เพราะค่านิยมใหม่นี้ทำให้เจนละอย่าง
เข้าสู่ยุค เขมร หรือกัมพูชา หลักฐานสายชวาลงความเห็นว่า
เขมร หมายถึงยุพราชเจนละผู้ได้รับสถาปนาขึ้นเป็น กุมาร
หรือราชกุมาร หรือ โกมาร์ ในภาษามุสลิมนี่เองกลายมาเป็น
เขมร ( Christopher ,pym,1968:46.47 )
ดังเช่นที่รับรู้กันในปัจจุบัน วัฒนธรรมว่าด้วยการสืบราชสันติวงศ
์ดังกล่าวมาถือเป็นคตินิยมที่เข้มข้นมากแพร่หลายและยอมรับกัน
ในนานาอารยประเทศมาจวบจวนปัจจุบัน ไทยสายสยามรับเอา
คตินิยมดังกล่าวนับแต่รัชสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 แห่ง
กรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมา ในต้นพุทธศตวรรษที่ 24 ได้มีเขมร
จำนวนมากข้ามเขาพนมดงรักขึ้นมาเพื่อหนีภัยสงคราม
ระหว่างเขมรกับธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นรายละเอียด
ดังรายงานแล้วนั้น ชาวเขมรอพยพเหล่านี้มีจำนวนไม่น้อยประสบ
ความสำเร็จในการตั้งถิ่นฐานด้านเหนือเขาพนมดงรัก มีจำนวน
ไม่น้อยได้ประกอบคุณานุคุณแก่ประเทศและเมืองสุรินทร์อย่าง
ใหญ่หลวง เชื่อกันว่า วัฒนธรรมจักสาน สิ่งทอและเครื่องประดับ
เงินของสุรินทร์ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันส่วนหนึ่งนำ
เข้ามาโดยบรรพบุรุษชาวสุรินทร์รุ่นนี้